Page 420 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 420
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๙๒
๒) กรณีที่ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๙
เมื่อเป็นอุทธรณ์ที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงค าพิพากษาศาลชั้นต้น มีดังนี้
(๑) ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ าเลยรับผิดต่อโจทก์ จ าเลยยื่นค าร้อง
ขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นยกค าร้องเพราะค าร้องมิได้คัดค้านค าตัดสินชี้ขาดของศาลที่แสดง
ให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีนั้นใหม่ตนเองจะเป็นฝ่ายชนะ จ าเลยอุทธรณ์โดยขอให้
ศาลอุทธรณ์มีค าสั่งให้ศาลชั้นต้นรับค าร้องขอพิจารณาใหม่ของจ าเลยไว้พิจารณาและมีค าสั่งใหม่
ตามรูปคดี อุทธรณ์ของจ าเลยจึงไม่มีผลโดยตรงต่อค าพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับ
แต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์ไม่มีผลกระทบต่อค าพิพากษาศาลชั้นต้น จ าเลยจึงไม่ต้องวางเงินตาม
ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๙ มาพร้อมอุทธรณ์ (ฎีกาที่ ๖๖๔๓/๒๕๔๘, ๗๕๖/๒๕๕๐, ๓๑๗๑/๒๕๕๐)
(๒) จ าเลยขอพิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลพิพากษาให้รับผิด
ต่อโจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนถึงวันนัดจ าเลยขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและถือว่า
จ าเลยไม่มีพยานมาสืบ ยกค าร้องขอพิจารณาคดีใหม่ จ าเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีค าสั่ง
อนุญาตให้จ าเลยเลื่อนคดีและให้ศาลชั้นต้นไต่สวนค าร้องขอพิจารณาคดีใหม่และมีค าสั่งตาม
รูปคดีเท่านั้น อุทธรณ์ของจ าเลยจึงไม่มีผลโดยตรงต่อค าพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับ
แต่อย่างใด จ าเลยจึงไม่ต้องวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๙ มาพร้อมอุทธรณ์ (ฎีกาที่ ๖๔๔๗/๒๕๔๘)
(๓) ถ้าศาลชั้นต้นมีค าสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ หรือมิได้
พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนอีกฝ่ายหนึ่ง จึงไม่มีค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนที่
ผู้อุทธรณ์จะต้องน ามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ก็ไม่ต้องวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๙
(ฎีกาที่ ๒๒๐/๒๕๔๙)
ข้อสังเกต
๑. เงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งผู้อุทธรณ์น ามาวางศาล
พร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๙ นั้น หากต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ผู้อุทธรณ์ชนะคดี
แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งฎีกา ผู้อุทธรณ์ขอรับเงินดังกล่าวคืนได้โดยไม่จ าต้องรอให้คดีถึงที่สุด
(ฎีกาที่ ๖๖๗/๒๕๓๐)
ข้อสังเกต
ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๖๗/๒๕๓๐ ผู้อุทธรณ์ขอรับเงินที่วางศาลคืนโดยอาศัย
มาตรา ๒๕๑ (เดิม) ที่บัญญัติให้สิทธิคู่ความฝ่ายที่กลับชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ที่จะได้รับเงินที่วาง
ไว้ต่อศาลคืนได้โดยไม่จ าต้องรอให้คดีถึงที่สุด ถึงแม้ปัจจุบันมาตรา ๒๕๑ (เดิม) ถูกแก้ไข
เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยยกเลิกความเดิม
ทั้งหมด และไม่มีบทบัญญัติท านองเดียวกับมาตรา ๒๕๑ (เดิม) อีก แต่คู่ความที่กลับชนะคดีใน