Page 418 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 418
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๙๐
สามแสนบาท ก็อยู่ในอ านาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา หากรวมกันแล้วเกินสามแสนบาท
คดีก็ไม่อยู่ในอ านาจศาลแขวง โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่จ าเลยเป็นผู้สั่งจ่าย ๖ ฉบับ ฉบับละ
๕๕,๐๐๐ บาท เป็นจ านวนเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกรวมดอกเบี้ยด้วย ๓๓๐,๐๐๐ บาท ดังนี้ คดีไม่อยู่
ในอ านาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา (เทียบฎีกาที่ ๒๐๕๔/๒๕๒๕)
(๔) แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจ าเลยเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาค ้าประกันคนต่างด้าว
๕ ราย โดยจ าเลยท าสัญญาค ้าประกันเป็นรายฉบับ รวม ๕ ฉบับ ส าหรับผู้ค ้าประกันแต่ละราย
หากจ าเลยผิดสัญญายอมให้ปรับรายละ ๕๐,๐๐๐บาท ทุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญา
ค ้าประกัน แต่ละฉบับ แม้จะปรับรวมกันมาก็ถือว่าก าหนดค่าปรับภายในวงเงินตามสัญญา
ค ้าประกันแต่ละฉบับไม่เกินฉบับละ ๕๐,๐๐๐บาท คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม
ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๔ แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้
ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๙
แม้จ าเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย (เทียบฎีกาที่ ๒๒๗๓/๒๕๒๖)
โจทก์ฟ้องว่าจ าเลยเล่นแชร์กับโจทก์รวม ๑๓ วง แล้วผิดสัญญาไม่ช าระค่าแชร์รวมเป็นเงิน
ทั้งสิ้น ๗๕๐,๐๐๐ บาท แต่จ านวนเงินที่ผิดสัญญาแต่ละวงนั้นไม่เกินห้าหมื่นบาท ดังนี้
ทุนทรัพย์ในคดีนี้จึงแยกออกตามสัญญาเล่นแชร์แต่ละวงซึ่งไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงเป็นคดีที่
ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๔ (เทียบฎีกาที่ ๒๔๖๘/๒๕๒๗)
(๕) ในคดีที่มีฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องและฟ้องแย้งจะอุทธรณ์หรือฎีกาได้
เพียงใดหรือไม่ ต้องแยกพิจารณา ไม่ถือเป็นทุนทรัพย์รวมกัน (ฎีกาที่ ๘๘๓/๒๕๑๕, ๖๒๕/
๒๕๓๗) หากฟ้องแย้งเป็นคดีที่มีค าขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจค านวณเป็นราคาเงินได้
ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่เมื่อการวินิจฉัยฟ้องแย้ง ต้องอาศัยข้อเท็จจริงจากฟ้องเดิม
ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้ว ฟ้องแย้งก็ไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ (ฎีกาที่
๔๗๕๔/๒๕๓๘, ๕๗๐/๒๕๔๐) การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่
ต้องพิจารณาฟ้องเดิมและฟ้องแย้งแยกจากกัน
(๖) ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะช าระเสร็จจะน ามารวมค านวณเป็น
ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๑๔๖๖/๒๕๓๕ และฎีกาที่ ๑๙๒๖/๒๕๓๗
ประชุมใหญ่, ๓๓๖๗/๒๕๓๘) ตลอดจนค่าเสียหายในอนาคตก็จะน ามาค านวณเป็ น
ทุนทรัพย์ไม่ได้ (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๑๒๙๗/๒๕๓๗, ๔๗๑๙/ ๒๕๓๘) การขอให้พิจารณา
คดีใหม่ ถือตามทุนทรัพย์ ในคดีเดิม (ฎีกาที่ ๕๔๕๐/๒๕๓๖)
๑.๓.๔ ตรวจว่าผู้ลงลายมือชื่อในอุทธรณ์มีอ านาจหรือไม่ ตัวความหรือทนายความ
ผู้มีอ านาจอุทธรณ์ได้ต้องลงชื่อในอุทธรณ์ ให้ตรวจดูใบแต่งทนายความว่ามีอ านาจอุทธรณ์