Page 412 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 412

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๘๔


                                                         หมวด ๓




                                              การพิจารณาชั้นอุทธรณ์



                  ๑.  สิทธิในการอุทธรณ์

                            เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีค าสั่ง  คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่พอใจอาจอุทธรณ์ได้

                  เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดหรือมีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์ (ฎีกาที่  ๓๒๔/

                  ๒๕๐๓, ๕๕๘๙/๒๕๓๖)

                            สิทธิที่จะอุทธรณ์ไม่อยู่ที่การแพ้ชนะ  ถ้าผู้ชนะคดีในศาลชั้นต้นไม่พอใจหรือค าพิพากษา

                  หรือค าสั่งกระทบสิทธิของผู้ชนะ  ผู้ชนะคดีย่อมอุทธรณ์ในประเด็นข้อนั้นได้ แม้ศาลชั้นต้นจะ

                  พิพากษาให้จ าเลยชนะคดี แต่ถ้าจ าเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ถูกต้องตรงประเด็น และผลของ

                  ค าพิพากษาท าให้เสียสิทธิของจ าเลย จ าเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ (ฎีกาที่ ๙๐๐/๒๕๐๕, ๕๒๔/๒๕๑๓,

                  ๑๔๐๔/๒๕๒๐)



                  ๒.  ผู้มีสิทธิอุทธรณ์

                            เมื่อศาลชั้นต้นมีค าพิพากษาหรือค าสั่งแล้ว  บุคคลต่อไปนี้ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อไปได้


                            ๒.๑  คู่ความ


                            ๒.๒  ผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกกระทบสิทธิโดยค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลชั้นต้น  เช่น

                                      ๒.๒.๑  ต่างฝ่ายต่างขอให้ลงโทษอีกฝ่ายฐานละเมิดอ านาจศาล  เมื่อศาลลงโทษ

                  ฝ่ายหนึ่งแล้ว  ฝ่ายนั้นแม้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็อุทธรณ์ได้เฉพาะที่ตนถูกลงโทษ

                  แต่จะอุทธรณ์ให้ลงโทษอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้  เพราะไม่ใช่ผู้เสียหายในการละเมิดอ านาจศาล

                  ของอีกฝ่ายหนึ่ง (ฎีกาที่ ๘๖๑/๒๕๐๓) ค าสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ไต่สวนการกระท าผิด

                  ฐานละเมิดอ านาจศาลที่มิได้กระท าต่อหน้าศาลเป็นอ านาจศาลโดยเฉพาะ  คู่ความมิใช่ผู้เสียหาย

                  อันจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ (ฎีกาที่ ๓๒๔๙/๒๕๓๖)

                                      ๒.๒.๒  ผู้ถูกลงโทษฐานละเมิดอ านาจศาลมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้  (ฎีกาที่ ๖๖/๒๕๑๖)

                                      ๒.๒.๓  ผู้รักษาทรัพย์ที่ถูกยึดใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ถ้าไม่พอใจค าสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับ

                  ค่ารักษาทรัพย์  (ฎีกาที่ ๑๙๓/๒๕๐๒)

                                      ๒.๒.๔  ผู้ค ้าประกันในศาลเพื่อช าระหนี้ตามมาตรา ๒๗๔ (ฎีกาที่ ๘๐๒/๒๕๑๗)

                                      ๒.๒.๕  ผู้ถูกศาลสั่งกักขังกรณีอื่นที่ไม่ใช่เรื่องละเมิดอ านาจศาล  เช่น พยานถูกกักขัง

                  เพราะจงใจไม่ไปศาลตามมาตรา ๑๑๑ (๒)
   407   408   409   410   411   412   413   414   415   416   417