Page 406 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 406
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๗๘
ค าร้องเสียได้ ค าสั่งดังกล่าวเป็นอ านาจของศาลโดยเฉพาะ ผู้ยื่นค าร้องย่อมมิใช่ผู้เสียหายอันจะมี
สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ (ฎีกาที่ ๓๒๔๙/๒๕๓๖) กรณีที่มีผู้ร้องเรียนหรือกล่าวหาว่าบุคคลใดกระท า
ความผิดฐานละเมิดอ านาจศาลซึ่งมิได้กระท าต่อหน้าศาล ศาลจ าต้องไต่สวนพยานหลักฐาน
เพื่อหาข้อเท็จจริงก่อนมีค าสั่ง (ฎีกาที่ ๗๙๘๘/๒๕๕๑) ถ้าผู้ถูกกล่าวหาให้การรับสารภาพ
ก็ลงโทษได้โดยไม่ต้องไต่สวน (เทียบฎีกาที่ ๔๖๘๑ – ๔๖๘๒/๒๕๒๘)
๒.๖ ค าสั่งศาลเรื่องละเมิดอ านาจศาลกฎหมายมิได้ก าหนดรูปแบบไว้ เมื่อศาลมีค าสั่ง
ต่อเนื่องกับการไต่สวนตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งมีชื่อศาลลงวันที่เดือนปีไว้แล้ว จึงเป็น
ค าสั่งที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา ๑๘๖ (๑) จ าเลยดูหมิ่นศาลและกล่าวเสียดสีศาลเป็นการละเมิด
อ านาจศาล ศาลมีอ านาจลงโทษฐานละเมิดอ านาจศาลได้โดยไม่ต้องฟ้อง จึงไม่มีกรณีที่จะเป็น
ฟ้องเคลือบคลุมหรือต้องเปิดโอกาสให้จ าเลยแก้ข้อกล่าวหาหรือให้โอกาสตั้งทนายความ
มาถามค้าน (เทียบฎีกาที่ ๑๓๒๔/๒๕๓๙)
๒.๗ การลงโทษฐานละเมิดอ านาจศาลเป็นการลงโทษตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๓๑ และมาตรา
๓๓ โดยไม่มีโจทก์ฟ้อง แม้ศาลจะลงโทษจ าเลยฐานละเมิดอ านาจศาลไปแล้ว ก็ไม่ท าให้สิทธิน า
คดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ (๔) พนักงานอัยการหรือผู้เสียหายยังมีสิทธิฟ้อง
ขอให้ลงโทษจ าเลยตาม ป.อ.ในส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นได้อีก (ฎีกาที่ ๒๓๐๓/๒๕๒๓, ๘๗/๒๕๓๔,
๑๑๒๐/๒๕๓๙)
๒.๘ การพิจารณาคดีและมีค าสั่งเรื่องละเมิดอ านาจศาล ควรที่จะตั้งส านวนคดีและ
ออกหมายเลขคดีใหม่แยกต่างหากจากส านวนคดีหลัก ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการส่งส านวน
ไปยังศาลสูงหากคดีนั้นมีการอุทธรณ์หรือฎีกา
๒.๙ กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการละเมิดอ านาจศาลในคดีแพ่งเป็นไปตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๓๐ ถึงมาตรา ๓๓ แต่ในคดีอาญาเป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๘๐ ซึ่งบัญญัติว่า “ให้น า
บทบัญญัติเรื่องรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลใน ป.วิ.พ. มาบังคับแก่การพิจารณาคดีอาญา
โดยอนุโลม แต่ห้ามมิให้สั่งให้จ าเลยออกจากห้องพิจารณา เว้นแต่ จ าเลยขัดขวางการพิจารณา
๒.๑๐ บทลงโทษผู้กระท าผิดฐานละเมิดอ านาจศาล ป.วิ.พ. มาตรา ๓๓ บัญญัติให้ศาล
มีอ านาจสั่งลงโทษคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดที่กระท าความผิดฐานละเมิดอ านาจศาลโดยวิธีใด
วิธีหนึ่งหรือทั้งสองวิธี ดังนี้
(ก) ไล่ออกจากบริเวณศาล หรือ
(ข) ให้ลงโทษจ าคุก หรือปรับ หรือทั้งจ าทั้งปรับ