Page 397 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 397
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๖๙
และให้ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนีประนอมยอม
ความเหล่านั้นไว้แล้วพิพากษาไปตามนั้น ดังนั้น การที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า
คู่ความตกลงกันแล้ว ท าสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่โจทก์ไม่ลงลายมือชื่อ ศาลจด
รายงานกระบวนพิจารณาไว้ว่า โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความ
โดยมิได้แจ้งเหตุใด ๆ จึงบันทึกไว้ต่อหน้าโจทก์จ าเลย สัญญาประนีประนอมยอมความนี้ไม่ชอบ
ด้วย ป.พ.พ. มาตรา ๘๕๑ ค าพิพากษาที่บังคับคดีตามยอมนั้นไม่เป็นค าพิพากษาที่ชอบ คู่ความ
อุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลพิพากษาให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและยกค าพิพากษา
ตามยอมให้พิจารณาพิพากษาใหม่ (ฎีกาที่ ๑๙๕/๒๕๒๑)
๑๙. สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ถือว่าเป็น
ส่วนหนึ่งของค าพิพากษาจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้เมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลง
เล็กน้อย (ฎีกาที่ ๙๐๗/๒๕๓๙) แต่ข้อความที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมว่า พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ
๑๘.๕ ต่อปี จากต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันท ายอมเป็นต้นไปจนกว่าจะช าระเสร็จต่อจาก
ข้อความว่า จ าเลยยอมรับผิดช าระต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน ๘๙๒,๔๕๒.๗๒ บาท นั้น
เป็นการเพิ่มความรับผิดให้จ าเลยต้องรับผิดในส่วนของดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าเดิม จึงไม่ใช่
ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ แม้จ าเลยจะไม่คัดค้าน โจทก์ก็ไม่อาจขอแก้ไขได้
(ฎีกาที่ ๑๗๗๑/๒๕๔๗)
๒๐. การท้ากันให้ถือเอาผลของค าพิพากษา หมายถึง ผลค าพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว
(ฎีกาที่ ๑๔๓๖/๒๕๓๘)
๒๑. ตามมาตรา ๓๕ แห่ง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๓๕ ที่บัญญัติว่า
“ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และที่ศาสนสมบัติกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่ง การบังคับคดี”
ย่อมหมายถึงว่า เมื่อมีการบังคับคดีแล้วจะต้องมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่กฎหมายห้ามยึด
หรืออายัด การที่ทนายโจทก์และจ าเลยตกลงกันท าสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลว่า
ให้จ าเลยจัดท าถนนในที่ดินพิพาทโดยจ าเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ ข้อตกลงดังกล่าวหากโจทก์
บิดพลิ้วจ าเลยไม่จ าต้องยึดหรืออายัดที่ดินพิพาทเพื่อการบังคับคดีแต่อย่างใด ข้อตกลงของ
ทนายโจทก์กับจ าเลยข้อนี้จึงมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
ของประชาชนและศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว
ข้ออ้างของโจทก์จึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๓๘ วรรคสอง ในอันที่จะใช้สิทธิ
อุทธรณ์ได้ (ฎีกาที่ ๑๑๑๐/๒๕๔๐)