Page 391 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 391
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๖๓
ส่วนที่ ๘
การประนีประนอมยอมความ
การตกลงหรือประนีประนอมยอมความในศาลมีบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๙, ๒๐, ๒๐ ทวิ
และ ๑๓๘ เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นการระงับข้อพิพาทโดยไม่ต้องชี้ขาดประเด็น
แห่งคดี และกระท าได้ทุกชั้นศาล
ประโยชน์ของการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในศาล ย่อมจะท าให้คดี
เสร็จไปโดยไม่ต้องเปลืองเวลาเป็นความกัน และคู่ความได้รับความพึงพอใจ อีกทั้งยังเป็นการ
ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดความขัดแย้งของคู่ความอีกด้วย
๑. ผู้ที่ท าสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลต้องมีอ านาจท าได้โดยชอบ
๑.๑ กรณีทนายความหรือตัวแทนผู้รับมอบอ านาจเป็นผู้ท าสัญญาประนีประนอมยอมความ
แทนตัวความ ศาลต้องตรวจดูใบแต่งทนายความ หรือหนังสือมอบอ านาจโดยถี่ถ้วนว่ามีอ านาจท าได้
หรือไม่ ตัวแทนรับมอบอ านาจทั่วไปไม่มีอ านาจประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา ๘๐๑
หากมีการท าสัญญาประนีประนอมยอมความโดยอ านาจบกพร่อง สัญญาประนีประนอมยอมความ
ก็ไม่มีผลผูกพันตัวการ (ฎีกาที่ ๙๔๖/๒๕๐๙ ประชุมใหญ่)
๑.๒ กรณีผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถเป็นคู่ความ ผู้แทนโดยชอบธรรมจะท าสัญญา
ประนีประนอมยอมความ ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๗๔, ๑๕๙๘/๓
และ ๑๕๙๘/๑๘ ในท้องที่ใดซึ่งมีศาลเยาวชนและครอบครัว ต้องไปร้องขอต่อศาลดังกล่าว
(พ.ร.บ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา ๑๑ (๓)) ถ้าท้องที่ใดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว
ศาลซึ่งพิจารณาคดีนั้นอาจมีค าสั่งอนุญาตโดยไม่ต้องให้คู่ความไปร้องขออนุญาตเป็นคดีใหม่
๑.๓ กรณีคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นคู่ความ ผู้พิทักษ์ไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม
ไม่มีอ านาจท าสัญญาประนีประนอมยอมความแทน แต่คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับ
ความยินยอมจากผู้พิทักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๕ ไม่มีอ านาจท าโดยล าพัง
๑.๔ คู่ความซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือเด็ดขาด อ านาจประนีประนอมยอมความ
ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒ คู่ความนั้น
จึงไม่มีอ านาจท าสัญญาประนีประนอมยอมความ (ฎีกาที่ ๓๒๔/๒๕๑๘)