Page 433 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 433

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๐๕


                  ฎีกาค าพิพากษาหรือค าสั่งนั้นไม่ได้ ดังนั้น ถึงแม้กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าค าพิพากษา

                  หรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์ในกรณีใดเป็นที่สุด คู่ความก็สามารถขออนุญาตฎีกาค าพิพากษาหรือ

                  ค าสั่งนั้นได้ตามมาตรา ๒๔๗ และเป็นอ านาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ฎีกา

                  หรือไม่  ดังนั้น หลักการขออนุญาตฎีกาใช้บังคับแก่คดีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคดีหลักหรือคดีสาขา

                  เช่น คดีมีข้อพิพาท  คดีไม่มีข้อพิพาท หรือคดีในชั้นบังคับคดี เป็นต้น


                             (ข) ส าหรับความเห็นฝ่ายที่เห็นว่า หากเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ค าพิพากษาหรือ
                  ค าสั่งใดของศาลชั้นอุทธรณ์เป็นที่สุด คู่ความไม่อาจขออนุญาตฎีกาค าพิพากษาหรือค าสั่งนั้นได้

                  มีเหตุผลสนับสนุนว่า การปรับปรุงหลักเกณฑ์การฎีกาตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.

                  (ฉบับที่ ๒๗) เป็นการเปลี่ยนระบบการฎีกาจากเดิมที่ระบบสิทธิไปเป็นระบบอนุญาต  การฎีกา

                  ในระบบสิทธิถือว่าเป็นสิทธิของคู่ความในการฎีกาโต้แย้งค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาล

                  ชั้นอุทธรณ์  ในขณะที่การฎีกาในระบบอนุญาตจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาเท่านั้นจึงถือ


                  เป็นการจ ากัดสิทธิของคู่ความการโต้แย้งค าพิพากษาหรือค าสั่ง  การตีความขอบเขตค าพิพากษา
                  หรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์ที่อาจขออนุญาตฎีกาได้ต้องค านึงถึงบริบทดังกล่าวด้วย  เมื่อตัวบท


                  มาตรา ๒๔๔/๑ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔๗ ค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์

                  ให้เป็นที่สุด” และมาตรา ๒๔๗ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การฎีกาค าพิพากษาหรือค าสั่งของ

                  ศาลอุทธรณ์ ให้กระท าได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา”  แสดงว่าค าพิพากษาหรือค าสั่งของ

                  ศาลอุทธรณ์ที่อาจขออนุญาตฎีกาได้ตามมาตรา ๒๔๗ คือค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์

                  ตามมาตรา ๒๔๔/๑ ซึ่งจะเป็นที่สุดหากไม่มีการขออนุญาตฎีกา แต่ส าหรับกรณีที่กฎหมาย

                  บัญญัติเป็นบทเฉพาะให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งใดของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ค าพิพากษาหรือค าสั่ง

                  ถึงที่สุดนั้นไม่ใช่ค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์ตามความหมายของมาตรา ๒๔๔/๑

                  จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา ๒๔๗ ที่จะขออนุญาตฎีกาได้  นอกจากนี้การที่ฝ่ายนิติบัญญัติ

                  ออกกฎหมายก าหนดให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งใดของศาลชั้นอุทธรณ์เป็นที่สุดย่อมมีเจตนารมณ์

                  ที่ต้องการให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งนั้นเป็นที่ยุติไม่ให้มีการโต้แย้งคัดค้านต่อไปอีก และถือเป็น

                  กรณีที่ค าพิพากษาหรือค าสั่งนั้นตามกฎหมายจะฎีกาไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๗ วรรคหนึ่ง

                  ซึ่งถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป


                        ๑.๔   อ านาจในการสั่งให้ทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๓๑ เป็นอ านาจเฉพาะของ

                  ศาลแต่ละชั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีค าสั่งในเรื่องนี้อย่างไรแล้ว  คู่ความจะฎีกาค าสั่งดังกล่าวไม่ได้


                  (ฎีกาที่ ๑๑๒๑๖/๒๕๕๕, ๓๔๓๘/๒๕๓๓, ๑๔๔๘/๒๕๓๐) จึงไม่อาจขออนุญาตฎีกาได้
   428   429   430   431   432   433   434   435   436   437   438