Page 428 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 428
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๐๐
น าส่งหมายนัดส าเนาอุทธรณ์ โดยให้วางเงินค่าส่งหมายอย่างช้าภายในวันท าการถัดไป หากส่ง
ไม่ได้ให้โจทก์ (จ าเลย) แถลงเพื่อด าเนินการต่อไปภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ มิฉะนั้น
ถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์”
๕.๓ “อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง (หรืออธิบดีผู้พิพากษาภาค) อนุญาตให้อุทธรณ์
ในข้อเท็จจริงได้ รับอุทธรณ์ของโจทก์ (จ าเลย) ส าเนาให้จ าเลย (โจทก์) แก้ภายใน ๑๕ วัน
ให้โจทก์ (จ าเลย) น าส่งส าเนาอุทธรณ์โดยให้วางเงินค่าส่งหมายอย่างช้าภายในวันท าการถัดไป
หากส่งไม่ได้ให้โจทก์ (จ าเลย) แถลงเพื่อด าเนินการต่อไปภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันส่งไม่ได้
มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์”
อนึ่ง การขอให้รับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ผู้อุทธรณ์ต้องท าเป็นค าร้อง (ป.วิ.พ.
มาตรา ๒๒๔ วรรคท้าย) และต้องขอมาพร้อมอุทธรณ์ จะยื่นค าร้องหลังจากศาลชั้นต้น
สั่งอุทธรณ์แล้วไม่ได้ (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๑๖๖๙/๒๕๓๕) การรับรองให้อุทธรณ์ต้องรับรอง
ให้ชัดแจ้งจะสั่งเพียงว่า “รับอุทธรณ์ ส าเนาให้โจทก์” เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๔
(ฎีกาที่ ๒๑๗/๒๕๒๑) โดยต้องสั่งว่า “อุทธรณ์ของ . . . . .มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้
จึงรับรองให้อุทธรณ์” ผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลที่ไม่ได้นั่งพิจารณา และไม่ได้ลงชื่อ
ในค าพิพากษารับรองให้อุทธรณ์ไม่ได้ (ฎีกาที่ ๓๙๒/๒๔๙๒) ผู้พิพากษาซึ่งเคยนั่งพิจารณาคดีนั้น
แม้จะถูกย้ายไปอยู่ศาลอื่น หากยังคงเป็นผู้พิพากษาอยู่ย่อมรับรองให้อุทธรณ์ได้ (ฎีกาที่
๑๔๙/๒๔๙๒ ประชุมใหญ่) ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามีหน้าที่พิจารณาเพียงว่ามีเหตุอันควร
อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่เท่านั้น การที่ไปสั่งว่า “คดีโจทก์เป็นคดีที่มีค าขอให้ปลดเปลื้องทุกข์
อันไม่อาจค านวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ให้ยกค าร้อง” จึงเป็นค าสั่งที่ไม่ชอบ
(ฎีกาที่ ๕๓๙๒/๒๕๓๗) ผู้พิพากษาที่พิจารณาในศาลชั้นต้นที่รับประเด็น รับรองอุทธรณ์ไม่ได้
(เทียบฎีกาที่ ๓๔๒๐/๒๕๓๘)
ข้อสังเกต
เมื่อคู่ความยื่นค าร้องขอให้รับรองอุทธรณ์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงผู้พิพากษา
พึงใช้ดุลพินิจรับรองให้เฉพาะในกรณีที่มีเหตุอันควรอุทธรณ์อย่างแท้จริงเท่านั้น
๖. ค าแก้อุทธรณ์
จ าเลยอุทธรณ์อาจยื่นค าแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในก าหนด ๑๕ วัน นับแต่วันส่ง
ส าเนาอุทธรณ์ (นับแต่วันที่การส่งมีผลบังคับ) แต่ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ห้ามมิให้ศาลแสดงว่าจ าเลย
อุทธรณ์ขาดนัดเพราะไม่ยื่นค าแก้อุทธรณ์ (มาตรา ๒๓๗ วรรคสอง)