Page 432 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 432
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๐๔
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๑๑ รวมทั้งค าวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ว่าคดีใดจะอยู่ในอ านาจของศาลอาญา
คดีทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไม่ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
พ.ศ. ๒๕๕๙ มาตรา ๑๑ เป็นต้น
๑.๒ กรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายก าหนดให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งใดเป็นที่สุดแม้เป็น
ค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความไม่มีสิทธิอุทธรณ์ค าพิพากษาหรือค าสั่งนั้นได้
เพราะต้องด้วยข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๒๓ ตอนท้าย ที่ว่า “...เว้นแต่ค าพิพากษาหรือค าสั่ง
นั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด” เช่น ค าสั่งตามมาตรา ๑๔
วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๕๔ วรรคสอง หรือค าพิพากษาตามมาตรา ๑๓๖ วรรคหนึ่ง และ
มาตรา ๑๓๗ วรรคสอง เป็นต้น เมื่อค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้ไม่อาจอุทธรณ์
ได้โดยชอบ ย่อมไม่อาจมีค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องดังกล่าวที่คู่ความจะขอ
อนุญาตฎีกาต่อไป
๑.๓ กรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายก าหนดให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลชั้นอุทธรณ์
เป็นที่สุด คู่ความจะขออนุญาตฎีกาค าพิพากษาหรือค าสั่งดังกล่าวได้หรือไม่ ยังมีความเห็น
แตกต่างกันโดยมีข้อพิจารณาดังนี้
(ก) ฝ่ายที่เห็นว่ากรณีดังกล่าวสามารถขออนุญาตฎีกาได้ มีเหตุผลสนับสนุนว่า
การฎีกาในคดีแพ่งตามกฎหมายเดิมซึ่งเป็นระบบสิทธิ กล่าวคือ คู่ความมีสิทธิฎีกาค าพิพากษา
หรือค าสั่งของศาลชั้นอุทธรณ์ภายใต้ข้อจ ากัดบางประการ เช่น การห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โดยพิจารณาจากจ านวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกา นอกจากนี้ศาลฎีกามีอ านาจไม่รับวินิจฉัยฎีกาที่เป็น
สาระอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยตามมาตรา ๒๔๙ เดิม บางกรณีกฎหมายบัญญัติให้ค าพิพากษา
หรือค าสั่งของศาลชั้นอุทธรณ์เป็นที่สุด ทั้งนี้ก็โดยที่ต้องการให้ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลสูงสุดได้
วินิจฉัยปัญหาที่ส าคัญ แต่เมื่อเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การฎีกาจากระบบสิทธิเป็นระบบอนุญาต
ย่อมไม่จ าเป็นที่จะต้องมีข้อจ ากัดใด ๆ เพราะในที่สุดแล้วเป็นอ านาจของศาลฎีกาในการพิจารณา
ว่าจะอนุญาตให้ฎีกาค าพิพากษาหรือค าสั่งใดของศาลอุทธรณ์โดยพิจารณาว่าปัญหาตามฎีกานั้น
เป็นปัญหาส าคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๒๔๘ หรือไม่ และจะน าไปสู่
การส่งเสริมบทบาทของศาลฎีกาไปสู่การเป็นศาลที่วางหลักกฎหมาย อีกทั้งตัวบทมาตรา ๒๔๗
วรรคแรก ก็บัญญัติเป็นหลักการทั่วไปว่าการฎีกาค าพิพากษาหรือค าสั่งของศาลอุทธรณ์ให้
กระท าได้เมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา โดยไม่มีถ้อยค าเป็นข้อยกเว้นไว้ดังเช่นมาตรา ๒๒๓ ว่า
ถ้ากฎหมายบัญญัติให้ค าพิพากษาหรือค าสั่งใดของศาลชั้นอุทธรณ์เป็นที่สุดแล้วจะขออนุญาต