Page 63 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 63
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๓๕
๑.๒.๒ มาตรา ๘๓ จัตวา ก าหนดวิธีการ เงื่อนไข และสิ่งที่โจทก์จะต้องปฏิบัติ
ในการส่ง เช่น ต้องยื่นค าร้องภายในเจ็ดวันนับแต่ยื่นค าฟ้อง ต้องท าค าแปล วางเงินค่าใช้จ่าย
๑.๒.๓ การส่งมีผลเมื่อใดเป็นไปตามมาตรา ๘๓ เบญจ หรือมาตรา ๘๓ ฉ
แล้วแต่กรณี
๑.๒.๓.๑ ถ้าเป็นการส่งแก่จ าเลยนอกราชอาณาจักรและส่งได้โดยวิธี
ธรรมดา มีผลใช้ได้เมื่อพ้นก าหนดเวลา ๖๐ วัน แต่ถ้าส่งโดยวิธีอื่นแทนจะมีผลต่อเมื่อพ้น
ก าหนดเวลา ๗๕ วัน (มาตรา ๘๓ เบญจ) ดังนั้น การส่งโดยวิธีธรรมดาจ าเลยมีสิทธิยื่นค าให้การ
ภายใน ๗๕ วัน ถ้าส่งโดยวิธีอื่นยื่นค าให้การได้ภายใน ๙๐ วัน
๑.๒.๓.๒ ถ้าเป็นการส่งแก่จ าเลยหรือตัวแทนในราชอาณาจักรมีผลใช้ได้
เมื่อพ้นก าหนดเวลา ๓๐ วัน (มาตรา ๘๓ ฉ วรรคแรก) ดังนั้น หากส่งได้โดยวิธีธรรมดา
จ าเลยมีสิทธิยื่นค าให้การได้ภายใน ๔๕ วัน ถ้าส่งได้โดยวิธีอื่นยื่นค าให้การได้ภายใน ๖๐ วัน
๑.๒.๔ มาตรา ๘๓ จัตวา และมาตรา ๘๓ สัตต ก าหนดหน้าที่และวิธีปฏิบัติของศาล
ในการด าเนินการซึ่งในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีก าหนดไว้
เป็นอย่างอื่น ให้ศาลด าเนินการส่งโดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศหรือผู้ประกอบ
กิจการรับส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศหรือโดยผ่านส านักงานศาลยุติธรรมและกระทรวงการ
ต่างประเทศ ตามข้อก าหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการส่งหมายเรียกและค าฟ้องตั้งต้นคดี
แก่จ าเลย ณ ภูมิล าเนาหรือส านักท าการงานของจ าเลยนอกราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๘
๑.๒.๕ มาตรา ๘๓ อัฎฐ ก าหนดทางแก้ในการส่งเมื่อไม่สามารถส่งโดยวิธีปกติได้
หมายเหตุ การส่งค าคู่ความและเอกสารอื่นนอกจากค าฟ้องตั้งต้นคดีมีหลักการ
บัญญัติอยู่ในมาตรา ๘๓ ตรี และ ๘๓ ฉ วรรคสองและวรรคสาม
๒. การคืนหมายเรียกและส าเนาค าฟ้อง
๒.๑ ถ้าปรากฏจากค าแถลงของบุคคลภายนอกว่า ได้รับหมายเรียกและส าเนาค าฟ้อง
แทนจ าเลยโดยไม่รู้ความจริงว่าจ าเลยไปต่างจังหวัดหลายวันแล้ว จึงขอส่งหมายเรียกและส าเนา
ค าฟ้องคืนศาล
สั่งว่า “ตามรายงานการเดินหมาย ปรากฏว่าเจ้าพนักงานส่งหมายเรียกและส าเนา
ค าฟ้องให้แก่นาย . . .ซึ่งมีอายุเกิน ๒๐ ปี และอยู่ในบ้านของจ าเลยเป็นการถูกต้องตามกฎหมาย
แล้ว ไม่รับคืน” (แต่ค าแถลง หมายเรียก และส าเนาค าฟ้องคงติดอยู่ในส านวน) ในกรณีปิดหมาย
ก็สั่งเช่นเดียวกัน