Page 67 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 67

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๓๙


                  ๔.  ข้อสังเกตเกี่ยวกับคู่ความมรณะ


                        ๔.๑  คดีเรื่องแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการมรดก  หรือถอดถอนผู้พิทักษ์ เมื่อผู้จัดการ
                  มรดกหรือโจทก์ถึงแก่กรรม ไม่เป็นคดีที่จะรับมรดกความได้ (ฎีกาที่ ๑๓๑/๒๕๐๖, ค าสั่งค าร้อง


                  ศาลฎีกาที่ ๘๑๙/๒๕๑๖, ๒๑๐๒/ ๒๕๑๗)

                        ๔.๒  การเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะย่อมเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ทั้งคดี  ฉะนั้น

                  ผู้ปกครองทรัพย์มรดกอันเป็นทรัพย์ที่พิพาทเฉพาะบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมดไม่อาจเข้าเป็นคู่ความ

                  แทนที่คู่ความฝ่ายที่มรณะได้ (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๒๖๐/๒๕๑๒)


                        ๔.๓  กรณีที่มีกฎหมายจ ากัดสิทธิการฟ้องร้องของบุคคลไว้ เช่น บิดาฟ้องมารดาเป็นจ าเลย

                  ระหว่างพิจารณาบิดาตาย  บุตรขอรับมรดกความแทนบิดาไม่ได้  เพราะว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้อง

                  บุพการี (ฎีกาที่ ๑๕๕๑/๒๔๙๔)


                        ๔.๔  การขอเข้าเป็นคู่ความแทนเจ้าหนี้ตามค าพิพากษาซึ่งคดีถึงที่สุดแล้วในชั้นบังคับคดี

                  เพื่อบังคับคดีเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๙๙ มิใช่เป็นการรับมรดกความตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒

                  (ฎีกาที่ ๓๔๗/๒๕๐๓, ๓๐๓๔/๒๕๓๑)  และกรณีคู่ความตายในชั้นบังคับคดีก็สามารถส่ง

                  ค าบังคับให้แก่คู่สมรสหรือทายาทของผู้ตายได้เช่นกันเพราะไม่ใช่คดีค้างพิจารณาตามมาตรา ๔๒

                  (ฎีกาที่ ๓๓๔/๒๕๑๓) แต่อย่างไรก็ตาม หากมีการโต้แย้งในชั้นบังคับคดีซึ่งจะต้องพิจารณา

                  ข้อโต้แย้ง หากคู่ความฝ่ายใดถึงแก่ความตาย  โจทก์ยื่นค าร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้แก้ค าบังคับ

                  ศาลชั้นต้นยกค าร้อง โจทก์อุทธรณ์ค าสั่ง  ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ทนายจ าเลยฎีกา ดังนี้

                  เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ย่อมท าให้คดีกลับมีกรณีจะต้องตั้งต้นพิจารณาในชั้นอุทธรณ์

                  ใหม่ในระหว่างโจทก์จ าเลย  เมื่อจ าเลยตายไปแล้ว  ทนายจ าเลยย่อมหมดสภาพเป็นทนายจ าเลย

                  ในการพิจารณาคดีชั้นอุทธรณ์  ต้องให้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนเสียก่อน (ฎีกาที่ ๑๙๙๕/๒๕๒๔)


                        ๔.๕  เมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์เป็นเวลาเกินกว่า ๑ ปี

                  แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจ าหน่ายคดี จนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นอุทธรณ์มาเป็นกระบวน

                  พิจารณาชั้นศาลฎีกา  โดยศาลชั้นต้นสั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่และสั่งรับ

                  ฎีกาแล้ว  ย่อมมิใช่กรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา

                  ศาลฎีกาจะสั่งจ าหน่ายคดีมิได้ (ฎีกาที่ ๓๕๗/ ๒๕๑๖ ประชุมใหญ่) ถ้ามีการขอขยายระยะเวลา


                  อุทธรณ์และขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนค าร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน
                  และมีค าสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๔๒, ๔๓ ก่อน  จะสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปก่อนมี


                  ค าสั่งอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่ไม่ได้ (ฎีกาที่ ๒๙๑/๒๕๔๐)
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72