Page 71 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 71
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๓
๑๗๔ (๒)(ฎีกาที่ ๒๓๗๗/๒๕๓๑) ศาลชั้นต้นสั่งให้จ าเลยน าส่งส าเนาค าร้องขอให้ไต่สวน
ค าร้องขออุทธรณ์โดยขอยกเว้นค่าธรรมเนียมให้โจทก์ภายใน ๗ วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งค าร้อง
จ าเลยมิได้น าส่งถือว่าทิ้งค าร้อง ตามมาตรา ๑๗๔ (๒) (ฎีกาที่ ๙๐๖/๒๕๓๑, ๔๖๙/๒๕๓๑, ๕๕๑๖/
๒๕๓๔, ๒๘๑๖/๒๕๓๙, ๒๘๓๘/๒๕๓๙)
ศาลชั้นต้นสั่งค าร้องอุทธรณ์ค าสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจ าเลยว่า ให้จ าเลยน าค่าฤชา
ธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาวางศาลภายในก าหนด ๗ วัน ย่อมหมายถึงให้น าค่าฤชาธรรมเนียม
ทั้งปวงมาวางศาล และน าเงินมาช าระตามค าพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามที่บัญญัติ
ไว้ในมาตรา ๒๓๔ วันครบก าหนดจ าเลยคงน าแต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่ใช้แทนโจทก์มาวางศาล
เท่านั้น ถือว่าทิ้งค าร้องอุทธรณ์ค าสั่ง ตามมาตรา ๑๗๔ (๒) (ฎีกาที่ ๖๑๐๙/๒๕๓๑)
๔. ในกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องจ าเลยบางคนให้ศาลสั่งจ าหน่ายคดีเฉพาะจ าเลยที่โจทก์ทิ้งฟ้อง
สั่งว่า “โจทก์เพิกเฉย ไม่แถลงภูมิล าเนาของจ าเลยที่ . . . . .ต่อศาลภายในก าหนด
ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องจ าเลยที่ . . .ให้จ าหน่ายคดีเฉพาะจ าเลยที่ . . .จากสารบบความ”
ให้บันทึกที่หน้าส านวนว่า “โจทก์ทิ้งฟ้องจ าเลยที่ . . . ตามค าสั่งศาลลงวันที่ . . .”
และลงลายมือชื่อผู้พิพากษาก ากับไว้โดยไม่ต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่หน้าส านวนและ
ไม่ลงเลขคดีแดง
๕. การทิ้งฟ้อง ตามมาตรา ๑๗๔ (๑) ไม่น าไปใช้ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเพราะไม่มีการ
ออกหมายเรียกให้อีกฝ่ายยื่นค าแก้อุทธรณ์หรือแก้ฎีกา มีแต่ส่งส าเนาอุทธรณ์หรือฎีกาให้เท่านั้น
(ฎีกาที่ ๗๘๙/๒๔๙๘) แต่ถ้าศาลก าหนดเวลาให้ผู้ยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาน าส่งหมายนัดและส าเนา
อุทธรณ์หรือฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งแล้ว หากเพิกเฉยไม่ว่าเพราะป่วยหรือหลงลืม หรือใช้ผู้อื่น
ให้ท าแทนแล้วไม่ท า ถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องตามมาตรา ๑๗๔ (๒) (ฎีกาที่ ๑๗๘/๒๕๐๕, ๑๒๓๒/
๒๕๑๔, ๕๗๑/๒๕๑๖)
แต่ถ้าศาลสั่งรับอุทธรณ์โดยให้โจทก์น าส่งหมายนัดและส าเนาอุทธรณ์ แต่มิได้
ก าหนดเวลาให้โจทก์น าส่ง เมื่อโจทก์มิได้น าส่งจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ตามมาตรา ๑๗๔ (๒)
หาได้ไม่ (ฎีกาที่ ๖๕๕๑/๒๕๓๔) หรือกรณีส่งหมายข้ามเขต ศาลจะต้องแจ้งผลการส่งหมายให้
โจทก์หรือผู้อุทธรณ์ทราบก่อน ถ้าไม่ได้แจ้ง แม้โจทก์หรือผู้อุทธรณ์จะไม่แถลงภายในก าหนด
ก็จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องหรือผู้อุทธรณ์ทิ้งอุทธรณ์ไม่ได้ (ฎีกาที่ ๒๐๒๘/๒๕๓๗, ๕๓๙๗/๒๕๔๐,
๒๗๑๒/๒๕๔๑)