Page 75 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 75

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๗


                  โจทก์ฟ้องใหม่อีกไม่ได้ (ฎีกาที่ ๒๒๔๐/๒๕๑๕) แต่ถ้าในคดีก่อนโจทก์ยื่นค าร้องว่า  โจทก์ไม่มี

                  ความประสงค์จะด าเนินคดีแก่จ าเลยทั้งสองอีกต่อไป  ก็มีความหมายเพียงว่า  โจทก์ไม่ประสงค์

                  จะด าเนินคดีแก่จ าเลยทั้งสองส าหรับคดีนั้นเท่านั้น  หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่

                  แก่จ าเลยทั้งสองอีกไม่   การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ท าให้อ านาจฟ้องของโจทก์หมดไป

                  (ฎีกาที่ ๒๓๑๙/๒๕๔๓)



                  ๓.  การไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง

                        การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ มาตรา ๑๗๕ วรรคสอง  ก าหนดให้เป็นดุลพินิจ

                  ของศาลโดยพิจารณาจากความสุจริตในการด าเนินคดีของโจทก์  (ฎีกาที่ ๓๙๖๒/๒๕๓๕)

                  และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย (ฎีกาที่ ๒๔๒๐/๒๕๔๓) ปรากฏว่านอกจากฟ้องคดีนี้แล้ว

                  โจทก์ยังยื่นค าร้องขอให้ห้ามจ าเลยและเจ้าพนักงานที่ดินท านิติกรรมใด ๆ  เกี่ยวกับที่ดินพิพาท

                  และ ศาลได้ไต่สวนค าร้องดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว   เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องโดยให้เหตุผลว่าประสงค์

                  ที่จะยื่นฟ้องจ าเลยที่ ๑ ใหม่  จึงอาจท าให้จ าเลยที่ ๑ เสียหาย  ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่อนุญาต

                  ให้โจทก์ถอนฟ้องชอบแล้ว (ฎีกาที่ ๖๐๓๕/๒๕๓๔) โจทก์บกพร่องในการด าเนินคดีที่ไม่ได้


                  ยื่นบัญชีระบุพยาน  ศาลชั้นต้นจึงมีค าสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิน าพยานเข้าสืบ  ให้งดสืบพยาน  และ
                  เลื่อนไปนัดฟังค าพิพากษา  กรณีเช่นนี้โจทก์รู้ดีว่าจะต้องแพ้คดี  การที่โจทก์ถอนฟ้องเพื่อน าคดี

                  มาฟ้องใหม่จึงมิได้เป็นไปโดยสุจริตและท าให้จ าเลยเสียเปรียบ  (ฎีกาที่ ๓๙๖๒/๒๕๓๕)



                  ๔.  การขอถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นมีค าพิพากษาแล้ว

                         เมื่อศาลชั้นต้นมีค าพิพากษาแล้ว โจทก์จะขอถอนฟ้องไม่ได้

                         หลังจากศาลชั้นต้นมีค าพิพากษาแล้วและมีการขอถอนฟ้อง  ถ้ายังไม่สั่งรับอุทธรณ์

                  หรือฎีกา  แล้วแต่กรณี ให้สั่งว่า “ศาลชั้นต้นมีค าพิพากษาแล้ว จึงให้ยกค าร้อง”  หากมีการรับ

                  อุทธรณ์หรือฎีกาแล้วให้ศาลชั้นต้นสั่งว่า “ให้ส่งค าร้องไปยังศาลอุทธรณ์ (หรือศาลฎีกา)

                  เพื่อพิจารณาสั่ง”



                  ๕.  การขอถอนฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกา

                         ผู้อุทธรณ์หรือฎีกายื่นค าร้องขอถอนอุทธรณ์หรือฎีกา   สั่งค าร้องว่า  “ส าเนาให้อีกฝ่าย

                  จะคัดค้านประการใดให้ยื่นค าแถลงภายใน . . .วัน    นับแต่วันได้รับส าเนาค าร้อง  มิฉะนั้นถือว่า

                  ไม่คัดค้าน  ให้ผู้อุทธรณ์หรือฎีกาน าส่งโดยให้วางเงินค่าส่งหมายอย่างช้าภายในวันท าการถัดไป

                  หากส่งไม่ได้   ให้ผู้อุทธรณ์หรือฎีกาแถลงเพื่อด าเนินการต่อไปภายใน ๑๕ วัน  นับแต่วันส่ง


                  ไม่ได้  มิฉะนั้นถือว่าทิ้งค าร้อง”
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80