Page 77 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 77
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๙
ส่วนที่ ๒
ชั้นจ าเลยยื่นค าให้การ
บทที่ ๑
การโอนคดีไปยังศาลอื่น
๑. การขอโอนคดี
๑.๑ ก่อนยื่นค าให้การ จ าเลยยื่นค าร้องขอโอนคดีหรือจ าเลยยื่นค าให้การพร้อมกับค าร้อง
ขอโอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอ านาจซึ่งต้องเป็นศาลใดศาลหนึ่ง ตามมาตรา ๓ ถึงมาตรา ๕ และ
มาตรา ๗ อ้างว่าการพิจารณาคดีในศาลนี้จักไม่ได้รับความสะดวกหรือจ าเลยอาจไม่ได้รับ
ความยุติธรรม ตามมาตรา ๖
ค าร้องนี้ต้องยื่นขอต่อศาลที่รับฟ้องโจทก์
สั่งค าร้องว่า “ส าเนาให้โจทก์ นัดไต่สวน” ส่วนในค าให้การจ าเลย สั่งว่า “รับค าให้การ
ส าเนาให้โจทก์” ศาลจะไต่สวนหรือไม่เป็นการใช้ดุลพินิจตามมาตรา ๒๑ (๔) ถ้าเห็นว่าค าร้อง
ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๖ ให้ยกค าร้องโดยไม่ต้องไต่สวน
๑.๒ จ าเลยหรือโจทก์ขอโอนคดีไปรวมการพิจารณาที่ศาลอื่น ตามมาตรา ๒๘ วรรคสอง
สั่งว่า “ส าเนาให้อีกฝ่าย สั่งในรายงานกระบวนพิจารณา”
การอนุญาตให้โอนคดีตาม ๑.๑ หรือ ๑.๒ ศาลจะสั่งโอนคดีทันทีไม่ได้ ต้องมี
หนังสือสอบถามไปยังศาลที่จะรับโอนก่อน ถ้าศาลที่จะรับโอนไม่ยินยอมก็สั่งโอนไม่ได้
ในกรณีเช่นนี้ศาลที่ต้องการให้โอนคดีก็ต้องส่งเรื่องให้ประธานศาลอุทธรณ์ เพื่อให้ประธาน
ศาลอุทธรณ์ชี้ขาดว่าจะให้โอนคดีหรือไม่
ข้อสังเกต
๑. จ าเลยที่ขาดนัดยื่นค าให้การมีสิทธิขอโอนคดีได้โดยถือว่าตราบใดที่จ าเลย
ยังไม่ยื่นค าให้การอาจเรียกได้ว่า “ก่อนยื่นค าให้การ” อยู่นั่นเอง (ฎีกาที่ ๑๕๘๗/ ๒๕๑๔
ประชุมใหญ่)
๒. การโอนคดีตามมาตรา ๖ ใช้กับคดีมโนสาเร่ด้วย
๓. ในระหว่างโอนคดีหากยังไม่พ้นเวลายื่นค าให้การ จ าเลยต้องไปยื่นค าให้การ
ต่อศาลที่รับโอน หรือต่อศาลที่โจทก์ยื่นฟ้องก็ได้