Page 76 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 76
คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง ๔๘
ข้อสังเกต
๑. การขอถอนฟ้องนั้น โจทก์ต้องกระท าก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีค าพิพากษา
จะขอถอนฟ้องขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาไม่ได้ แต่ตามค าร้องของโจทก์ที่ว่า
จ าเลยได้ช าระหนี้ภายนอกให้แก่โจทก์เป็นที่ถูกต้องและพอใจของโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ประสงค์
จะด าเนินคดีกับจ าเลยทั้งสองอีกต่อไป จึงขอถอนฟ้องจ าเลยทั้งสองนั้น แสดงว่า โจทก์ไม่
ประสงค์ที่จะให้ศาลฎีกาพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไป ดังนั้น แม้โจทก์จะใช้ถ้อยค าในค าร้องว่า
“ขอถอนฟ้อง” ก็ตาม ก็พอแปลความหมายได้ว่า โจทก์ขอถอนฟ้องฎีกานั่นเอง จึงอนุญาตให้
โจทก์ถอนฟ้องฎีกาได้ (ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๘๕๑/๒๕๔๙, ๑๔๗๘/๒๕๒๙, ๗๘๖/๒๕๑๙,
และ ๑๘๗๗/๒๕๕๑)
๒. โจทก์จะถอนฟ้องเดิมในชั้นฎีกาไม่ได้ และแม้จะแปลว่าโจทก์ถอนฟ้องเท่ากับ
โจทก์ประสงค์จะถอนฎีกา แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกาจึงไม่มีค าฟ้องในชั้นฎีกาที่จะถอนได้ ให้ยกค าร้อง
(ค าสั่งค าร้องศาลฎีกาที่ ๑๑๑๘/๒๕๓๓ และ ๓๓๙/๒๕๓๒)
เมื่อพ้นเวลาก าหนดให้ผู้รับส าเนาค าร้องคัดค้านแล้ว ไม่ว่าจะมีค าคัดค้าน
หรือไม่ก็ตาม สั่งว่า “รวบรวมถ้อยค าส านวนส่งศาลอุทธรณ์ (หรือศาลฎีกา)” การอนุญาตให้
ถอนอุทธรณ์ (หรือฎีกา) เป็นอ านาจของศาลอุทธรณ์ (หรือศาลฎีกา) ที่จะพิจารณาสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อสังเกต
๑. โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เมื่อจ าเลยยื่นค าแก้อุทธรณ์แล้ว จะต้องฟังจ าเลยก่อน
(ฎีกาที่ ๔๑๗/๒๕๑๓)
๒. กรณีที่อีกฝ่ายไม่แก้อุทธรณ์หรือฎีกาก็ไม่ต้องส่งส าเนาค าร้องให้คัดค้าน
แต่สั่งให้ส่งส านวนและค าร้องไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่งได้ทันที
๓. ถ้าขอถอนอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาส่งค าพิพากษา
มาให้อ่านก็ต้องสั่งงดอ่านค าพิพากษาด้วย ถ้ามีการอ่านค าพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา
โดยยังมิได้สั่งค าร้องขอถอนอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นการไม่ชอบ (ฎีกาที่ ๕๓๗/๒๕๓๒)