Page 73 - คู่มือตุลาการ เล่มที่ 1 วิ.แพ่ง มีสารบัญ ebook
P. 73

คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาความแพ่ง   ๔๕


                                                          บทที่  ๘


                                                       การถอนฟ้อง




                            การถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ ถ้าคดีมีโจทก์หลายคน โจทก์แต่ละคนจะถอนฟ้องได้

                  เฉพาะค าฟ้องส่วนของตนเท่านั้น กรณีนิติบุคคลเป็นโจทก์ ผู้แทนนิติบุคคลมีอ านาจถอนฟ้องได้

                            เมื่อโจทก์มีค าขอถอนฟ้อง ไม่ว่าจะท าเป็นค าบอกกล่าวหรือค าร้อง ให้ตรวจในค าขอว่า

                  เป็นลายมือชื่อโจทก์หรือไม่   หากเป็นลายมือชื่อผู้รับมอบอ านาจโจทก์ หรือทนายความโจทก์

                  ต้องตรวจหนังสือมอบอ านาจหรือใบแต่งทนายความ ว่าได้ให้อ านาจบุคคลดังกล่าวถอนฟ้องด้วย


                  ๑.  การถอนฟ้องก่อนจ าเลยยื่นค าให้การ


                            โจทก์ต้องท าเป็นค าบอกกล่าว  สั่งว่า  “อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้  จ าหน่ายคดีเสียจาก

                  สารบบความ คืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ . . . บาท”  แล้วบันทึกหน้าส านวนพร้อมกับลงลายมือชื่อ

                  ผู้พิพากษาผู้สั่งที่หน้าส านวน และน าไปลงเลขคดีแดง

                            กรณีคดีที่มีจ าเลยหลายคน  โจทก์ยื่นค าบอกกล่าวขอถอนฟ้องจ าเลยบางคน  สั่งว่า

                  “อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจ าเลยที่ . . .ได้  จ าหน่ายคดีจ าเลยที่ . . . เสียจากสารบบความ”

                            กรณีจ าเลยหลายคนเป็นหนี้ร่วมกัน ไม่ต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาล แต่ให้บันทึกที่หน้าส านวนว่า

                  “โจทก์ได้ถอนฟ้องจ าเลยที่ . . .ศาลมีค าสั่งอนุญาตลงวันที่ . . . ” และลงลายมือชื่อผู้พิพากษา

                  ก ากับไว้โดยไม่ต้องลงลายมือชื่อผู้พิพากษาที่หน้าส านวน และไม่ลงเลขคดีแดง

                                ข้อสังเกต

                                ๑. คดีที่มีจ าเลยเกินกว่า ๑ คน โจทก์ยื่นค าบอกกล่าวขอถอนฟ้องจ าเลยไม่หมด

                  ทุกคน  ไม่จ าต้องถามจ าเลยคนอื่นที่ไม่ได้ขอถอนฟ้อง  ไม่ว่าจ าเลยอื่นนั้นจะยื่นค าให้การหรือไม่


                  ก็ตามจ าหน่ายคดีเฉพาะตัว  กรณีนี้ยังไม่ลงเลขคดีแดง (เทียบฎีกาที่ ๓๖๗๘/๒๕๒๘,
                  ๖๓๓๓/๒๕๓๘, ๔๗๖๙/๒๕๔๐)


                                 ๒. การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๓๗ โจทก์จะต้อง
                  ฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ท านิติกรรมดังกล่าว ศาลจึงจะบังคับตามค าขอของโจทก์ได้ เพราะผล


                  ของค าพิพากษาไม่อาจบังคับแก่บุคคลนอกคดีได้ การที่โจทก์ฟ้องจ าเลยทั้งสองแล้วศาลอุทธรณ์

                  ภาค ๗ สั่งจ าหน่ายคดีส าหรับจ าเลยที่ ๑ ออกเสียจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ภาค ๗ มีผล

                  ให้จ าเลยที่ ๑ พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามค าพิพากษา ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาพิพากษา

                  ตามค าขอของโจทก์เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจ าเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้  (ฎีกาที่

                  ๒๗๓๘/๒๕๕๐ )
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78