Page 11 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 11
ภาษากับประเพณีท้องถิ่นไทย
๓.๑ ความหมายของประเพณี
พระยาอนุมานราชธน ได้ให้ความหมายของคำว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่ง
อยู่ในที่แห่งหนึ่งถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็
ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี
คำว่า “ประเพณี” ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า
ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่าง ๆ ออกได้เป็น ขนบ มีความหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรม
เนียมมีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่
ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา จนเป็นต้นแบบที่จะให้คนรุ่นต่อ ๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตาม
กันต่อไป
โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คนในสังคม
ยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้น ๆ ฝ่าฝืนมักถูกตำหนิจากสังคม ลักษณะประเพณีในสังคมระดับประเทศ
ชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไปบ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถิ่น แต่โดยมากย่อม
มีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเฉพาะส่วนปลีกย่อยที่เสริมเติมแต่งหรือตัดทอนไปในแต่
ละท้องถิ่น สำหรับประเพณีไทยมักมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อในคติพระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ
๓.๒ ความสำคัญของประเพณี
มนุษย์มีความผูกพันอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมของวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดมาในสถาบันเล็ก ๆ คือ ครอบครัว
เป็นสถาบันแรกเริ่มที่ทุกคนต้องรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย วัฒนธรรมไทย และคติความเชื่อต่าง ๆ ที่บรรพบุรุษ
ได้ให้เรียนรู้อบรมสั่งสอนสืบต่อกันมา ถือได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแบบแผนของสังคมในแต่ละภาค สังคมแต่ละสังคมก็
ย่อมมีความแตกต่างในเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และคติความเชื่อแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับค่านิยมของแต่ละภาค ประเพณีไทยเป็นการกระทำกิจกรรมทางสังคมที่ผู้คนส่วนใหญ่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา
ประเพณีเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ตามความคิดความเชื่อปฏิบัติเพื่อความเจริญแห่งตนและสังคม
หน้า | ๖