Page 13 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 13
๓.๔ วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน
๓.๔.๑ ประวัติความเป็นมา
เรื่องขุนช้าง ขุนแผน มีเนื้อความ
ปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า ซึ่ง
นับเป็นเรื่อง ในพระราชพงศาวดาร เรื่องขุน
ช้างขุนแผนนี้ เป็นวรรณกรรมอมตะ นิทาน
ไทยพื้นบ้านของสุพรรณบุรีมาแต่ช้านาน
เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งมี
หลักฐานอยู่ ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า
โดยแต่งเป็นบทกลอนสำหรับขับเสภา (เสภา
คือหนังสือกลอนโบราณ ที่นำเอานิทานมาแต่ง
เป็นกลอนสำหรับขับลำนำ) ให้ประชาชนฟัง
เหลือมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์บางตอนเพราะถูก
ไฟไหม้และสูญหายไปหายไป
เมื่อครั้งเสียกรุงกับพม่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดให้กวีหลายท่าน
เช่น พระองค์ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓) สุนทรภู่ ครูแจ้ง เป็นต้น ให้ช่วยกันแต่งเพิ่มเติมขึ้น โดยแบ่งกัน
แต่งเป็นตอน ๆ ไปจน
๓.๔.๒ เรื่องย่อ
ขุนช้าง ขุนแผน นางพิมพ์ เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วนางพิมพ์เป็นคนสวยมากตั้งแต่เด็ก ขุนช้างเป็น
ลูกของนางเทพทอง กับขุนศรีวิชัย และนางพิมพ์เป็นลูกของศรีประจันต์กับพันศรโยธา ขุนแผนเป็นลูกของนางทอง
ประศรี กับขุนไกร ซึ่งตายตั้งแต่ขุนแผนยังเล็ก เพราะว่ารับคำเจ้านายคือพระพันวษาให้ไปต้อนกระบือ แล้วฝูง
กระบือแตกหายไปหมดเลย พระพันวษาทรงพิโรธก็รับสั่งให้ประหารชีวิตขุนไกร นางทองประศรีก็พาพลายแก้วไปที่
อื่นเพราะถูกยึดสมบัติโดยพระพันวษาฐานละเมิดคำสั่ง หลังจากนั้นนางทองประศรีก็พาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่
กาญจนบุรี ข้างฝ่ายพลายแก้วพอโตแม่ก็ให้ไปบวชเณร เสร็จแล้วก็กลับมาอยู่ที่วัดป่าเลไลยก์ เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งก็
หน้า | ๘