Page 17 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 17

สภาพจิตใจของตัวละคร


                              เรื่องขุนช้างขุนแผนมีลักษณะที่น่าสนใจบางอย่างที่สามารถจะนำมาวิจารณ์ โดยอาศัยหลัก

               จิตวิทยานี้ ตามทฤษฎีของฟรอยด์ กล่าวว่า จิตใจของมนุษย์บ่างออกเป็นสามส่วนคือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี

               ความรู้สึกฝ่ายสูง (super-ego) สภาพธรรมดาของจิตใจ คือตัวเราเอง (ego) และความรู้สึกฝ่ายต่ำ (id) ซึ่งถูกผลัก
               ลงอยู่ใต้สำนึก (subconscious) กวีคือผู้ที่อารมณ์รุนแรงกว่าปรกติ แต่ถูกกดไว้อยู่ในจิตใต้สำนึก และสามารถ

               ระบายอารมณ์อันรุนแรงนี้ออกมาได้อย่างเป็นศิลปะ ถ้าพิจารณาถึงประวัติของกวีว่า จะมีบางสิ่งบางอย่างที่สัมพันธ์
               กับลักษณะที่ปรากฏอยู่ในเรื่องขุนช้างขุนแผน กวีที่น่าจะนำมาวิเคราะห์ได้ดีที่สุดคือสุนทรภู่



               ๓.๕ การศึกษาภาษากับประเพณีที่ปรากฏในเรื่องขุนช้างขุนแผน


                       ๓.๕.๑ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต



                       ประเพณีในเรื่องขุนช้างขุนแผนส่วนใหญ่เป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต คือการปฏิบัติพิธีต่าง ๆ ในสังคม

               ประเพณีในเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อที่อยู่นอกเหนือจากความคิดความเข้าใจของคน คือ

               เรื่องภูตผีปีศาจและเทวดาฟ้าดิน โดยอาศัยความเชื่อต่าง ๆ นี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจหรือเสริมกำลังใจ เมื่อคน
               ในสังคมเกิดโรคภัยไข้เจ็บหรืออันตราย วิธีคลายทุกข์ก็คือการบนบานศาลกล่าวเทวดาอารักษ์ให้มาคุ้มครองตนเอง

               และครอบครัว เมื่อคนมีความเชื่อเหล่านี้มากขึ้นเป็นเวลานานจึงกลายเป็นความเชื่อที่ฝังลึกในจิตใจและความ

               เป็นอยู่ของคนในสังคม แม้ว่าเวลาผ่านไปสังคมเจริญขึ้นแต่ความเชื่อเหล่านี้จะยังคงอยู่ แต่อาจจะเปลี่ยนไปบ้าง
               ตามกาลเวลา ส่วนการประกอบพิธียังจำเป็นต่อคนในสังคมจึงมีการปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมแต่ยังคง

               รักษาไว้ เพียงเพราะทำแล้วเกิดความสบายใจและพิธีในแต่ละสังคมมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพของสังคม
               นั้น ๆ

                       ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน สามารถแบ่งออกได้เป็น ประเพณีเกี่ยวกับ

               การเกิด ประเพณีการทำขวัญและโกนผมไฟ ประเพณีโกนจุก ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน และ
               ประเพณีการทำศพ















                                                           หน้า | ๑๒
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22