Page 22 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 22
การเอาเด็กใส่กระด้งร่อนมีความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนที่เกิดมานี้ ผีเป็นผู้ปั้นรูปร่างลักษณะแล้ว
คอยดักจับวิญญาณใส่รูปนั้นให้มีชีวิตก่อนส่งเข้าครรภ์มารดา เหตุนี้จึงเชื่อกันว่าผีเป็นเจ้าของลูกมาก่อน ฉะนั้นเมื่อ
ถึงวันเกิดจึงเอาเด็กใส่กระด้งร่อนแล้วถามว่า “๓ วันลูกผี ๔ วันลูกคน ลูกของใครก็มารับเอาไปเน้อ” แล้วจัดให้มี
หญิงแก่คนหนึ่งเอาเบี้ยหรือสตางค์เข้ามาเป็นผู้รับซื้อว่า “ฉันรับซื้อเป็นลูกของฉันเอง” ผู้รับซื้อจึงมีชื่อว่า “แม่ซื้อ”
คือคนที่รับซื้อเด็กมาจากผีแล้ว (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์, ๒๕๕๕: ๒๒๕)
การอยู่ไฟ
สำหรับวิธีการรักษาตัวหลังการคลอดลูกของผู้หญิงสมัยโบราณคือ “การอยู่ไฟ” เป็นการขับไล่
เหงื่อไคลและเลือดที่คลั่งอยู่ในร่างกายให้ออกมาด้วยความร้อน ในเรื่องขุนช้างขุนแผนไม่ได้บรรยายรายละเอียด
ของการทำคลอดว่าเด็กที่คลอดออกมาจะได้รับการปฏิบัติอย่างไรแต่จะกล่าวถึงการอยู่ไฟหลังคลอดทุกครั้ง แม้จะ
กล่าวสั้น ๆ ก็ตาม เพราะการอยู่ไฟในสมัยโบราณเป็นเรื่อที่ยุ่งยากมาก และเป็นเรื่องที่รู้กันโดยทั่วไป เช่น “แม่เข้า
นอนไฟให้ร้อนทั่วเดือนหนึ่งออกไฟไม่หมองมัว” (ขุนช้างขุนแผนตอนที่ ๑ หน้า ๘) “แล้วทอดเตาเข้าไฟไม่ไข้เจ็บ
ครั้นจะเก็บความกล่าวยาวหนักหนา” (ขุนช้างขุนแผนตอนที่ ๒๔ หน้า ๕๑๓)
พระยาอนุมานราชธนสันนิษฐานว่า การอยู่ไฟของเราอาจจะได้คติมาจากลัทธิพราหมณ์ คือการใช้
ไฟชำระล้างมลทินให้หมดไป เนื่องจากการคลอดลูกนั้นจะมีสิ่งสกปรก เช่น เลือดฝาดออกมาจากร่างกาย แต่นาน
ๆ เข้าก็ลืมคตินี้เสีย ไปคิดว่าเป็นการบำบัดโรค ชาติที่อยู่ทางตะวันออกเช่น อินโดนีเซียก็มีการใช้เตาทองเหลืองจุด
ไฟ (ถ่าน) ไว้ใต้ที่นอนมีกำหนด ๑๐ วัน ผู้หญิงที่คลอดลูกในเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ล้วนแต่ต้องอยู่ไฟทุกคน การอยู่
ไฟในสมัยนั้นเป็นเรื่องสำคัญและเป็นขบวนการรักษาอย่างหนึ่งของสตรีหลังคลอดบุตร ดังบทประพันธ์ที่ว่า
“เลี้ยงมันไว้ไยอายเพื่อนเรือน หัวเหมือนโคตรข้างไหนให้เกิดมา
ค่าแล้วจึงเข้าไปนอนไฟ แม่นมค่าไทให้รักษา”
(ขุนช้างขุนแผน)
“เอาขึ้นใส่อู่แล้วแกว้งไกว แม่เข้านอนไฟให้ร้อนทั่ว
เดือนหนึ่งออกไฟไม่หมองมัว ขมิ้นแป้งแต่งตัวน่าเอ็นดู”
(ขุนช้างขุนแผน)
หน้า | ๑๗