Page 23 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 23
ประเพณีการทำขวัญและการโกนผมไฟ
การทำขวัญ
การทำขวัญแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่
๑. การทำขวัญวัน
เมื่อเด็กคลอดได้ ๓ วัน จะมีการทำขวัญเพื่อเป็นการแสดงความดีใจที่เด็กมีชีวิตรอด ถ้าเด็ก
เกิดใหม่ตายภายในระยะเวลา ๓ วันนี้ ก็ถือว่าผีมาเอาตัวไป (หรือพ่อแม่เดิมของเด็กนั่นเอง) เป็นพิธีที่ทำกันภายใน
ครอบครัว ในเรื่องขุนช้างขุนแผนไม่มีการทำขวัญวัน แต่การทำขวัญวันมีกล่าวอยู่ในวรรณคดีเรื่องอื่นในสมัย
เดียวกัน คือเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ พระอภัยมณี ซึ่งเป็นเรื่องของชนชั้นสูง ดังนั้นชาวบ้านในสมัยนั้นจึงไม่มีการทำ
ขวัญวันให้เด็กทารก ต่อมาขุนนางข้าราชบริพารเอาประเพณีการทำขวัญออกมาเผยแพร่ ก็มีการทำขวัญวันในหมู่
ชาวบ้านด้วย
เครื่องทำขวัญวัน
เครื่องทำขวัญมีบายศรีปากชามและเครื่องบัตรพลีสำหรับสังเวยพระภูมิเจ้าที่ปลาซ่อนต้มยำ
มะพร้าวอ่อน ๑ ผล กล้วย ๑ หวี ขนมต้มแดง ต้มขาวและขนมอื่น ๆ ดอกไม้ธูปเทียน นอกนั้นมีแป้งหอมน้ำมัน
หอมหรือกระแจะสำหรับจุณเจิม ข้าวสารบรรจุในขันสำหรับปักแว่นเวียนเทียน ๓ เล่ม,ทำขวัญเสร็จแล้วเอาด้าย
สายสิญจน์มาเสกผูกที่ข้อมือเด็กทั้งสิงข้างเรียกว่า “ผูกขวัญ ” แล้วให้ศีลให้พร ตอนนี้จะย้ายเด็กจากกระด้งมาลง
เปลผ้าได้
๒. การทำขวัญเดือน
จากการศึกษาการทำขวัญในเรื่องขุนช้างขุนแผนมีการทำขวัญเดือนให้ทารกหลังจากที่
มารดาออกไฟแล้ว ในพิธีทำขวัญนี้มักตั้งชื่อให้ทารกด้วย โดยการพิจารณาจาวันเดือนปีเกิดและเวลาตกฟากของ
เด็ก หรืออาจะจะประกอบการนิมิตหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
หน้า | ๑๘