Page 26 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 26
ประเพณีโกนจุก
การโกนจุกเป็นประเพณีที่ทำเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เด็ก
และถือเป็นการรวมญาติ เด็กไทยทั้งชายและหญิงจะไว้จุกทุกคน
จนกระทั่งอายุย่างเข้า ๑๑ ปี หรือ ๑๓ ปี แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๑
เด็กไทยมีกำหนดโกนจุกช้า คืออายุปราณ ๑๓ ปี หรือ ๑๕ ปี พิธี
โกนจุกจะมี ๒ วัน มีการตระเตรียมอาหาร หมากพลูไว้เลี้ยงญาติ
ที่มาช่วยงาน ตอนเย็นจะนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็น ซัดน้ำพระ
พุทธมนต์ให้เด็กที่จะโกนจุกตลอดจนญาติผู้ใหญ่ และแขกที่มา
ร่วมงาน รุ่งขึ้นจึงทำพิธีโกนผมจุก ดังบทประพันธ์ที่ว่า
“นัยน์ตากลมคมขำดูดำขลับ ใครแลลับรักใคร่ปราศรัยถาม
ทองประศรีดีใจไล่ฤกษ์ยาม ได้สิบสามปีแล้วหลานแก้วกู
จะโกนจุกสุกดิบขึ้นสิบค่ำ แกทำน้ำยาจีนต้มตีนหมู
พวกเพื่อนวานมาผ่าหมากพลู บ้างปัดปูเสื่อสาดลาดพรมเจียม”
(ขุนช้างขุนแผน)
ประเพณีการบวช
การบวชเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง เช่น การบวชเณร นิยมทำกันเมื่อเด็กโกนจุกเรียบร้อยแล้ว พ่อแม่จะพา
เด็กไปฝากกับพระเพื่อจะให้ศึกษาความรู้และอบรมนิสัย ดังบทประพันธ์ที่ว่า
“พระสงฆ์องค์ใดวิชาดี แม่จงพาลูกนี้ไปฝากท่าน
ให้เป็นอุปัชฌย์อาจารย์ อธิฐานบวชลูกเป็นเณรไว้”
(ขุนช้างขุนแผน)
ในเรื่องขุนช้างขุนแผนกล่าวถึงตอนพลายแก้วบวชเณรไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่เริ่มหาซื้อผ้ามาตัด เย็บ ย้อม
จนสำเร็จเป็นสบง จีวร ผ้าพาดไหล่ รวมเรียกว่า ผ้าไตร และมีย่ามบาตรพระเตรียมไว้ ดังคำประพันธ์ที่ว่า
หน้า | ๒๑