Page 29 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 29
การแต่งงาน
หลังจากการสู่ขอแล้ว ฝ่ายชายจะเตรียมปลูกเรือนหอในบริเวณบ้านของฝ่ายหญิง การปลูกเรือน
สมัยก่อนจะมีเพื่อนบ้านมาช่วยโดยไม่คิดค่าแรง การปลูกต้องดูฤกษ์ยามและทำขวัญเสาด้วย เจ้าภาพเป็นผู้ทำ
อาหารมาเลี้ยง ลักษณะแบบนี้ยังคงมีในสังคมชนบท เมื่อถึงวันแต่งงาน เจ้าบ่าวจะยกขบวนขันหมากไปยังบ้าน
เจ้าสาว มีดนตรีปี่พาทย์ครื้นเครงพอขบวนมาถึงบ้านเจ้าสาว จะมีคนมากั้นขันหมากไว้ยังไม่ให้ขึ้นบ้าน จนกว่าจะ
เสียเงินก่อน หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า ประตูเงิน ประตูทอง พอขันหมากขึ้นบ้านจะมีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งถือขันหรือพาน
หมากออกมาต้อนรับ ต่อจากนั้นจึงเปิดขันหมากเพื่อตรวจให้ครบตามที่ตกลงกันไว้ ดังบทประพันธ์ที่ว่า
“จึงจอดเรือเข้าท่าสะพานใหญ่ ตาผลวิ่งไปเอาไม้กั้น
เสียเงินทองให้ขึ้นไปพลัน ขนขันหมากขึ้นบนบันได
ยายเป้าเถ้าแก่อยู่ที่บ้าน ก็นับขานเงินตราและผ้าไหว้
ครบจำนวนถ้วนที่สัญญาไว้ ให้เขาเข้าไปในเรือนพลัน”
(ขุนช้างขุนแผน)
ระหว่างที่พระผู้ใหญ่ซัดน้ำมนต์ไปยังคู่บ่าวสาวนั้น พระสงฆ์ในพิธีซัดน้ำน้ำทำให้เกิดความโกลาหล
อย่างสนุกสนานระหว่างเพื่อนเจ้าบ่าวและเจ้าสาว หนุ่ม ๆ ก็มีโอกาสลวนลามสาว ๆ เพื่อนเจ้าสาว เพราะฉะนั้น
เพื่อนเจ้าสาวจึงต้องเตรียมหนามมาป้องกันตัว แต่ถึงจะมีการล่วงเกินกันไปบ้างก็ไม่มีใครถือสา เพราะเป็นงาน
มงคลและเป็นประเพณี ตัวอย่างเหตุการณ์ตอนซัดน้ำในเรื่องขุนช้างขุนแผน ดังบทประพันธ์ที่ว่า
หน้า | ๒๔