Page 24 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 24

การตั้งชื่อของพลายชุมพล


                                     นางทองประศรีตั้งชื่อหลานว่า “พลายชุมพล” เพราะเกิดมาตอนขุนแผนกำลังจะทัพไปตี

               เชียงใหม่ ดังบทประพันธ์ที่ว่า


                                     “ประจวบฤกษ์ดิถีกรีธาทัพ             ต้องตำหรับว่าเลิศประเสริฐหลาย

                              ทองประศรีอุ้มแอบไว้แนบกาย                  ให้ชื่อพลายชุมพลรณรงค์”
                                                                                                (ขุนช้างขุนแผน)



                                      บางคนอาจได้รับการตั้งชื่อตามทรวดทรงหน้าตาอันสวยงาม เช่น นางพิมพิลาไลย ตั้งชื่อ
               ตามความฝันเช่น ขุนช้าง หรือตั้งชื่อเลียนแบบชื่อพ่อ เช่น ชื่อ พลายงาม, พลายเพชร, พลายยง ฯลฯ เป็นต้น

                                      เมื่อนำประเพณีการทำขวัญเดือนไปเปรียบเทียบกับพระราชพิธีสมโภชเดือนในเรื่องอิเหนา
               จะเห็นความแตกต่างกันที่ว่าพระราชพิธีเพิ่มการ “จำเริญเกศาพระกุมาร” เข้าไปด้วย การโกนผมไฟเป็นประเพณี

               ในราชสำนักมาก่อนเหมือนกับการทำขวัญวัน ส่วนการโกนผมไว้จุกของชาวบ้านในสมัยนั้นคงต้องหาฤกษ์ภายหลัง

               และไม่จำเป็นต้องจัดพิธีใหญ่เหมือนการทำขวัญเดือน ดังที่พระยาราชวรานุกูล (อ่วม) กล่าวถึง ประเพณีเลี้ยงลูกใน
               สมัยรัชกาลที่ ๕ ว่า เมื่อบุตรมีอายุเจริญวัยขึ้นสมควรที่จะไว้ผมจุกผมเปียอย่างไร บิดามารดาก็หาวันดีไว้จุกผมเปีย

               ให้บุตรตามประเพณี หรือมิได้ไว้ผมจุกผมเปียให้แก่บุตร ให้โกนผมเสียทีเดียว และในสมัย ๕๐ กว่าปีมานี้ เสถียร

               โกเศศเล่าว่าการทำขวัญใหญ่จะทำเมื่อเด็กมีอายุครบเดือนกับ ๑ วัน พร้อมกับการโกนผมจุกไฟ บางทีจะมีการตั้ง
               ชื่อเด็กใสตอนนี้ เพื่อนำชื่อเด็กที่เกิดใหม่ไปขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของสกุล

                                      สันนิษฐานว่า การโกนผมไฟพร้อมกับพิธีทำขวัญเดือนในสมัยนี้เป็นการเลียนแบบพระราช
               พิธีเช่นเดียวกับการทำขวัญวัน ประเพณีการทำขวัญทารกแรกเกิดในสมัยรัตนโกสินทร์นิยมทำแต่การทำขวัญเดือน

               เท่านั้น  และก็ไม่จำเป็นต้องทำเมื่ออายุครบเดือนพอดี เพราะตอนโกนผมไฟพลายเพชรบุตรพระไวยกับนางศรี

               มาลาได้ทำขวัญพร้อมไปด้วยเมื่ออายุได้ ๓ เดือน ดับทประพันธ์ที่ว่า


                                     “สามเดือนโกนหัวให้ลูกชาย            ญาติกาทั้งหลายทำขวัญให้
                              เสมาปวะหล่ำทั้งกำไล                        ขุนแผนเอามาให้แก่หลานย่า”

                                                                                                (ขุนช้างขุนแผน)












                                                           หน้า | ๑๙
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29