Page 28 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 28

“ครานั้นท่านพระพิจิตร               ทั้งบุษบาสมคิดก็หรรษา
                              รับทองหมั้นไว้มิได้ช้า                     _ _ _ _ _ _ _ _”

                                                                                                (ขุนช้างขุนแผน)


                              จะเห็นได้ว่าการหมั้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ทำกันอย่างง่าย ๆ ก็ได้ แต่เชื่อแน่ว่า ถ้าขุนแผนไม่ติด

               ราชการสงครามแล้วพิธีหมั้นอาจจะใหญ่โตกว่านี้ จะต้องมี “ขันหมากหมั้น” ด้วย เนื่องจากมีกล่าวไว้ในกฎหมาย
               ตราสามดวงในกฎหมายลักษณะผัวเมียว่า ชายใดสู่ขอลูกสาวหลานสาวท่าน บิดามารดา หญิงยินยอมให้ชายมี

               ขันหมากหมั้น


                              แสดงว่าตามประเพณีที่ถูกต้องแล้วคงมี “ขันหมากหมั้น” ด้วย ขันหมากที่ชายให้แก่หญิงยังเป็น

               พันธะสัญญาทางกฎหมายด้วย ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น ก็ให้มีการปรับโดยใช้ขันหมากหมั้นนั้นเป็นหลัก
               ดังตัวอย่างในมาตรา ๑๖ กฎหมายผัวเมียว่า “ชายให้สู่ขอลูกสาวท่านถึงหลบฝาก และหญิงมีชู้ด้วยชายอื่นก็ดีตาม

               ชายอื่นไปก็ดี ท่านว่าให้ชายผู้สู่ขอคิดเอาค่าขันหมากแต่แรกมาสู่ขอถึงขันหมากหมั้น เอาหนึ่งเป็นสอง” และใน

               ทำนองเดียวกันฝ่ายหญิงก็อาจริบขันหมากหมั้นจากฝ่ายชายได้ ถ้าชายทารุณแก่หญิง และหญิงฆ่าชายตาย































                                                           หน้า | ๒๓
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33