Page 16 - หนังสือ เรื่อง ภาษากับวัฒนธรรมไทยในท้องถิ่น
P. 16

การเดินทางผจญภัยเพื่อหาประสบการณ์ และเพื่อสร้างคุณลักษณะเด่นให้ตัวละครเอก


                              วรรณคดีไทยส่วนมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ได้เค้ามาจากวรรณคดีต่างชาติ เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา

               เรื่องที่ได้เค้ามาจากนิทานพื้นบ้าน เช่น ไกรทอง หรือเรื่องประเภท จักร ๆ วงศ์ ๆ เช่น จันทโครบ สังข์ศิลป์ชัย

               สุวรรณหงส์ ฯลฯ เราสังเกตได้ว่ามีแนวความคิดอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่เสมอคือ การสร้างโครงเรื่องให้ตัวเอกฝ่าย
               ชายต้องออกเดินทางไปตามป่าเขาลำเนาไพรหรือบ้านเมืองอื่น ๆ มีการผจญภัยในระหว่างการเดินทาง เช่น การ

               ต่อสู้กับยักษ์ ภูตผีปีศาจ สัตว์ร้าย และมักได้พบกับตัวเอกฝ่ายหญิงที่มีศักดิ์ศรีและความเหมาะสมซึ่งเป็นเนื้อคู่กัน
               ด้วย แต่กว่าจะได้ประสบความสุขในบั้นปลายก็ฝ่าอันตรายอย่างหนัก อาจถึงแก่ชีวิตแล้วกลับฟื้นมาอีกเพื่อกลับมา

               ครองบ้านเมืองเดิม หรือได้ครองบ้านเมืองที่ไปต่อสู้ได้ชัยชนะมา


                       ความสำคัญของวิชาความรู้


                              แก่นเรื่องแบบนี้แม้จะเน้นเรื่องการศึกษาของตัวละคร แต่ก็เกี่ยวข้องกับการเดินทางผจญภัย

               เช่นเดียวกัน เพราะตัวละครมักจะต้องออกเดินทางเพื่อไปแสวงหาวิชาความรู้ก่อนอย่างอื่น เมื่อมีความรู้เป็น

               คุณสมบัติแล้ว ก็กำหนดให้เดินทางเพื่อพิสูจน์ว่าความรู้นั้นใช้ได้ผลหรือไม่เพียงไรความรู้ที่กล่าวถึงมากที่สุดในเรื่อง
               ขุนช้างขุนแผนคือ ความรู้เรื่องไสยศาสตร์ คาถาอาคมต่างๆ ซึ่งในสมัยก่อนเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง และมี

               ความสำคัญมาก โดยเฉพาะในการศึกษาของผู้ชาย วิชาเหล่านี้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันตัวที่จำเป็นจะต้องเรียนรู้

               และในเรื่องกล่าวถึงบ่อยครั้ง คือการใช้คาถาอาคม การทำเสน่ห์ อำนาจลึกลับต่าง ๆ


                       พุทธปรัชญา


                              สังคมไทยเป็นสังคมที่ยึดมั่นในพุทธศาสนา การนับถือศาสนาโดยทั่วไปคือการสั่งสอนแบบบอก

               เล่า และการปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายชั่วคน ตามที่สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (๒๕๒๕:๑๔) กล่าวว่าความเชื่อ ความเข้าใจ
               และแนวปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนาของคนไทยเป็นในรูปของประเพณีของการเชื่อถือ เป็นพุทธศาสนา

               ชาวบ้าน เช่น มีความเชื่อเรื่อง “บุญทำกรรมแต่ง” “แล้วแต่บุญแต่กรรม” มีการหวังทิพสุขในสวรรค์ มีความคิด
               ความเชื่อเรื่องเทวดา การทำบุญเพื่อที่จะได้ไปสวรรค์ ความเชื่อเหล่านี้มีประเพณีนิยมของไทยเข้าไปหล่อหลอมอยู่

               อยู่ด้วย












                                                           หน้า | ๑๑
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21