Page 20 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 20
20
มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง
4) การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Testing and Debugging) เป็นตรวจสอบโปรแกรมว่า
มีการท างานถูกต้องหรือไม่
5) การท าเอกสารประกอบโปรแกรม (Documentation) เอกสารประกอบโปรแกรมช่วย
ให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรมตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จาก
โปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรม ได้แก่ คู่มือส าหรับผู้ใช้โปรแกรม คู่มือส าหรับผู้เขียน
โปรแกรม
11. การวิเคราะห์ปัญหา มี 5 ขั้นตอน ได้แก่
1) การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement) เป็นการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้
เป็นหลักว่ามีวัตถุประสงค์อะไร ต้องการให้คอมพิวเตอร์ท าอะไรให้
2) การวิเคราะห์รูปแบบผลลัพธ์ (Output) เป็นการวิเคราะห์ถึงสิ่งที่ต้องหาค าตอบ จากการ
ประมวลผลเพื่อให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรที่จะแสดงบ้าง
3) การวิเคราะห์ข้อมูลน าเข้า (Input) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลและเงื่อนไขที่ก าหนดมาใน
ปัญหาเพื่อให้ทราบว่าจะต้องน าข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ผ่านทางสื่ออุปกรณ์ใด ข้อมูลมี
คุณสมบัติเป็นอย่างไร
4) การวิเคราะห์ตัวแปรที่จะใช้ (Variable) เป็นการวิเคราะห์ชื่อที่ใช้เป็นตัวแทนข้อมูลเพื่อ
การประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ชื่อตัวแปร (Variable Name) ซึ่งการก าหนดชื่อตัวแปร
ต้องตรงตามเงื่อนไขการตั้งชื่อตัวแปรของแต่ละภาษาที่ ใช้เขียนโปรแกรมและสอดคล้องกับชนิด
ข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการแก้ไขหรือพัฒนาปรับปรุงโปรแกรมในอนาคต
5) การวิเคราะห์การประมวลผล (Process) เป็นการวิเคราะห์วิธีการประมวลผลว่ามีวิธีการ
ท าอย่างไร มีการค านวณหรือมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการ
แก้ปัญหา รูปแบบผลลัพธ์ และข้อมูลน าเข้า
12. เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโปรแกรม ได้แก่
1) รหัสเทียม (Pseudo code) หมายถึง การเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาไทยหรือ
ภาษาอังกฤษที่สื่อความหมายง่ายๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที
2) ผังงาน (Flowchart) หมายถึง การเขียนอัลกอริทึมโดยใช้สัญลักษณ์รูปภาพเป็นตัวสื่อ
ความหมาย และใช้ลูกศรเป็นตัวบอกทิศทาง ล าดับของการท างาน
13. วิธีการตรวจสอบการท างานโปรแกรมสามารถท าได้ โดย
1) การตรวจสอบด้วยตนเอง จะเป็นการทดสอบขั้นตอนการท างานตามอัลกอริทึม เช่น
ตรวจสอบว่าสูตรหรือโปรแกรมมีการท างานที่ถูกต้อง ได้ผลลัพธ์ตรงตามความจริงหรือไม่
2) การตรวจสอบด้วยตัวแปลภาษา จะต้องเรียกใช้ตัวแปลภาษาโปรแกรมท าการตรวจสอบ
ความผิดพลาดทางไวยากรณ์ (Syntax) ของแต่ละภาษา หากพบข้อผิดพลาดใด ๆ จะมีการแจ้ง
เตือนให้ทราบเพื่อให้โปรแกรมเมอร์ท าการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
14. ลักษณะของโปรแกรมที่ดี
- มีความถูกต้อง แม่นย า และเชื่อถือได้
- มีความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์
- บ ารุงรักษาโปรแกรมได้ง่าย
- ต้องอ่านง่าย