Page 15 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 15
15
2.3 การเขียนโปรแกรม (Programming)
การเขียนโปรแกรมเป็นการน าเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็น
โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบค าสั่ง
และกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้
2.4 การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Testing and Debugging)
หลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว ต้องท าการทดสอบโปรแกรมเพื่อหาจุดผิดพลาด
(Bug) เป็นการตรวจสอบการท างานของโปรแกรมว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขจุด
ผิดพลาด(Debug) ให้ถูกต้องต่อไป โดยสามารถการตรวจสอบด้วยตัวเอง จะเป็นการทดสอบขั้นตอน
การท างานตามอัลกอริทึม เช่น ตรวจสอบว่าสูตรหรือโปรแกรมมีการท างานที่ถูกต้อง ได้ผลลัพธ์ตรง
ตามความจริงหรือไม่ หรือการตรวจสอบด้วยตัวแปลภาษา จะต้องเรียกใช้ตัวแปลภาษาโปรแกรมท า
การตรวจสอบความผิดพลาดทางไวยากรณ์ (Syntax) ของแต่ละภาษา ซึ่งหากพบข้อผิดพลาดใด ๆ
จะมีการแจ้งเตือนให้ทราบเพื่อให้โปรแกรมเมอร์ท าการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป
2.5 การท าเอกสารประกอบโปรแกรม (Documentation)
การท าเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นสิ่งที่ส าคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสาร
ประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรมตลอดจน
ผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.5.1 คู่มือส าหรับผู้ใช้โปรแกรม (User’s Manual or User’s Guide) จะเน้นการ
อธิบายเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมเป็นหลัก การแนะน าคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์ประกอบที่จ าเป็น
2.5.2 คู่มือส าหรับผู้เขียนโปรแกรม (Programmer’s Manual or Programmer’s
Guide) จะจัดท าขึ้นเพื่อบุคคลเป็นการเฉพาะและอาจไม่เผยแพร่ทั่วไป อธิบายการท างานของ
โปรแกรมเป็นส่วน ๆ ท าให้ผู้เขียนโปรแกรมหรือช่างเทคนิค สามารถศึกษาและเข้าใจโปรแกรม
3. ลักษณะของโปรแกรมที่ดี
3.1 มีความถูกต้อง แม่นย า และเชื่อถือได้ โปรแกรมที่ดีจะต้องมีความถูกต้อง ให้ผลลัพธ์
ถูกต้องแม่นย าตรงกับความต้องการของผู้ใช้เป็นส าคัญ
3.2 มีความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ ไม่ติดอยู่กับฮาร์ดแวร์ตัวใดตัวหนึ่งโดยจะต้องสามารถที่จะ
น า โปรแกรมไปรันงานที่เครื่องใด ๆ ก็ได้
3.3 บ ารุงรักษาโปรแกรมได้ง่าย หากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโปรแกรมก็จะต้องสามารถ
แก้ไขได้ง่าย เป็นต้น
3.4 ต้องอ่านง่าย ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเขียนโปรแกรมให้อ่านง่าย เช่น ตัวโปรแกรม
จะต้องเป็นระบบระเบียบ มีย่อหน้า เว้นวรรค มีการหมายเหตุในโปรแกรมก าหนดตัวแปรต่าง ๆ
จะต้องสื่อความหมายได้เพื่อผู้เขียนโปรแกรมคนอื่น ๆ หรือเจ้าของโปรแกรมเองจะสามารถไป
ปรับปรุงแก้ไขได้ด้วยความสะดวก หากมีการปรับเปลี่ยนเกิดขึ้นในอนาคต