Page 18 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 18
18
เฉลยแบบฝึกหัด
หน่วยที่ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
แนวค าตอบ
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
1) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง หรือ ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2) ตัวโปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ (Software)
3) บุคลากร หรือ พีเพิลแวร์ (People ware)
4) ข้อมูล (Data)
5) กระบวนการท างาน (Procedure)
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้
ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ เช่น จอภาพ เม้าส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์
3. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือชุดค าสั่งที่เขียนขึ้น เพื่อที่จะสั่งงานให้
ฮาร์ดแวร์ท างาน ประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน เพราะฉะนั้น
ซอฟต์แวร์จึงมีความส าคัญต่อระบบคอมพิวเตอร์ เพราะซอฟต์แวร์ เป็นตัวกลางที่คอย
ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้งาน และคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจกัน ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software หรือ OS) หมายถึง
ชุดค าสั่งที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมการท างานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ท าให้การติดต่อ
ประสานกันระหว่าง อุปกรณ์แต่ละชิ้น โปรแกรมแต่ละโปรแกรม ให้สามารถท างานร่วมกันได้โดย
ไม่มีปัญหา OS ที่รู้จักและเป็นที่นิยมกันมาก เช่น Windows , OSX, Linux เป็นต้น
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ชุดค าสั่งที่เขียนขึ้นมาเป็น
โปรแกรมที่ท าให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถท างานได้เฉพาะอย่าง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
- ซอฟต์แวร์ส าหรับงานทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลผลค า ซอฟต์แวร์เพื่อการค านวณ
ซอฟต์แวร์น าเสนองาน ซอฟต์แวร์การติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
- ซอฟต์แวร์ส าหรับงานเฉพาะด้าน ซึ่งจะท าขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเท่านั้น เช่น โปรแกรม
ส าหรับควบคุมเครื่องจักรกล โปรแกรมซื้อ ขายสินค้า โปรแกรมเงินเดือน เป็นต้น
4. นักเขียนโปรแกรมใช้ ภาษาระดับสูง (High-Level Language) ในการพัฒนาโปรแกรม เพราะมี
ลักษณะของค าสั่งจะประกอบด้วยค าต่างๆ ในภาษาอังกฤษ สามารถเข้าใจความหมายได้ทันที
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในการเขียนโปรแกรม ได้แก่ ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี
(C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น
5. คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมที่ท าหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา
ระดับสูง ที่เรียกกันว่า โปรแกรมต้นฉบับ (Source Program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง
(Object Program) โดยท าการแปลทั้งโปรแกรม
อินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมที่ท าหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา
ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเตอร์พรีทเตอร์จะท า
การแปลและประมวลผลทีละค าสั่งทีละบรรทัดและจะต้องแก้ไขข้อผิดพลาดก่อนทีละค าสั่ง