Page 13 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 13

13





                       2.  พื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

                              การท างานของคอมพิวเตอร์จะท าตามโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาทุกประการ ดังนั้น การน า
                       คอมพิวเตอร์มาช่วยส าหรับการแก้ปัญหาจึงจ าเป็นต้องมีโปรแกรมส าหรับการแก้ปัญหานั้น ๆ ผู้ที่ท า
                       การเขียนโปรแกรมจึงต้องทราบถึงวิธีการของการแก้ปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
                       แล้วน ามาเขียนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไป ซึ่งขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

                       ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ
                                   - การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)
                                   - การออกแบบโปรแกรม (Design)

                                   - การเขียนโปรแกรม  (Programming)
                                   - การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม (Testing and Debugging)
                                   - การท าเอกสารประกอบโปรแกรม (Documentation)

                              2.1  การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis)

                                   การวิเคราะห์ปัญหาเป็นกระบวนการศึกษาลักษณะและรายละเอียดที่ต้องการให้
                       คอมพิวเตอร์แก้ปัญหา จะต้องวิเคราะห์ปัญหาให้ละเอียดทุกขั้นตอน เพื่อให้ทราบว่าจะแก้ปัญหาอะไร
                              การวิเคราะห์ปัญหา มี 5 ขั้นตอน คือ

                                   2.1.1  การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement)    เป็นการวิเคราะห์ถึงความ
                       ต้องการของผู้ใช้เป็นหลักว่ามีวัตถุประสงค์อะไร ต้องการให้คอมพิวเตอร์ท าอะไร ให้ได้ผลลัพธ์อย่างไร
                                   2.1.2.  การวิเคราะห์รูปแบบผลลัพธ์ (Output)  เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่ามี
                       จะแสดงข้อมูลอะไร ใช้สื่ออะไรในการแสดงข้อมูล เช่น การแสดงผลออกทางจอภาพ การพิมพ์

                       รายงานออกทางเครื่องพิมพ์ หรือการแสดงข้อมูลเพื่อบันทึกลงแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
                                   2.1.3.  การวิเคราะห์ข้อมูลน าเข้า (Input)  เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่าจะต้อง
                       น าข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ผ่านทางสื่ออุปกรณ์ใด ลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่น าเข้าจะต้อง
                       สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการ และรูปแบบผลลัพธ์

                                    2.1.4.  การวิเคราะห์ตัวแปรที่จะใช้ (Variable)  เป็นการวิเคราะห์ชื่อที่ใช้แทน
                       ความหมายของข้อมูล เพื่อความสะดวกในกาอ้างถึงข้อมูล เรียกว่า ชื่อตัวแปร (Variable Name) ซึ่ง
                       การก าหนดชื่อตัวแปรต้องสอดคล้องกับชนิดข้อมูล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการแก้ไขหรือพัฒนา
                       ปรับปรุงโปรแกรมในอนาคต

                                   2.1.5.  การวิเคราะห์การประมวลผล (Process)  เป็นการวิเคราะห์วิธีการ
                       ประมวลผลว่ามีวิธีการท าอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการแก้ปัญหา เช่น การ
                       ค านวณหาพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีวิธีการประมวลผล คือ  พื้นที่ = ความกว้าง x ความยาว เป็นต้น
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18