Page 10 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 10
10
ภาพที่ 1.5 ภาษาคอมพิวเตอร์
ที่มา: https://pixabay.com/th/photos/
ในการประมวลผลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาระดับสูงจ าเป็นต้องอาศัยโปรแกรมที่ท า
หน้าที่ช่วยในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมภาษาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2
ลักษณะได้แก่
1) คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมที่ท าหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียนด้วย
ภาษาระดับสูงที่เรียกกันว่า โปรแกรมต้นฉบับ (Source Program) ให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง
(Object Program) โดยท าการแปลและประมวลผลทีเดียวทุกค าสั่งทุกบรรทัดทั้งโปรแกรม ถ้ามี
ข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือข้อผิดพลาดออกมาด้วย ภายหลังการแปลถ้าไม่มีข้อผิดพลาด
สามารถสั่งประมวลผลโปรแกรมต่อไปได้เลย
2) อินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมที่ท าหน้าที่ในการแปลโปรแกรมที่เขียน
ด้วยภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ ความแตกต่างจะอยู่ที่อินเตอร์พรีท
เตอร์จะท าการแปลและประมวลผลทีละค าสั่งทีละบรรทัด หากพบข้อผิดพลาดเครื่องจะพิมพ์รหัสหรือ
ข้อผิดพลาดออกมาและจะต้องแก้ไขไปทีละค าสั่งทีละบรรทัด จนกระทั่งไม่มีข้อผิดพลาดตลอดทั้ง
โปรแกรม จึงจะสามารถสั่งประมวลผลโปรแกรมได้
1.3 บุคลากร หรือ พีเพิลแวร์ (People Ware) หมายถึง บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
ทางคอมพิวเตอร์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีหน้าที่และ
ความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
1.3.1 ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถ
ท างานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ เช่น พิมพ์งาน ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
1.3.2 ผู้ดูแลและซ่อมบ ารุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter or Technician)
หมายถึง ผู้คอยดูแลตรวจสอบสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพพร้อมที่จะท างานได้
ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิค การดูแลรักษา การซ่อมแซม การต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งาน
โปรแกรมต่าง ๆ ค่อนข้างดี
1.3.3 ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer : โปรแกรมเมอร์) หมายถึง
ผู้เขียนโปรแกรมตามที่ผู้ออกแบบและผู้วิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้ก าหนด เพื่อให้ได้โปรแกรม