Page 11 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 11
11
ที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถ
เขียนค าสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่าง ๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นน าไปใช้
1.3.4 ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) หมายถึง ผู้
ที่มีหน้าที่พิจารณาว่า องค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด
เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมอร์ท างานในส่วนต่อไป
1.3.5 ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager or Administrator)
หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่บริหาร และดูแลทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1.4 ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาจเป็นตัวเลข
ตัวอักษรหรือรูปภาพ ที่ท าให้ผู้ใช้ทราบความเป็นไปที่เกิดขึ้น ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่ส าคัญอีก
ประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความส าเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้
เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งก าเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและ
ตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ การน าข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2 วิธีด้วยกันคือ
1.4.1 ผ่านอุปกรณ์น าเข้า (Input Device) ซึ่งอุปกรณ์น าเข้าข้อมูลมีหลายชนิด
ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (Keyboard) ส าหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร ข้อความ
หรืออักขระพิเศษ สแกนเนอร์ (Scanner) ส าหรับข้อมูลประเภทข้อความที่มีรายละเอียดมาก หรือ
ภาพ ไมโครโฟน (Microphone) ส าหรับข้อมูลประเภทเสียง ฯลฯ
1.4.2 ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลส ารอง (Secondary Storage) ซึ่งจะดึงเอาข้อมูลที่
ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลส ารอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
แฟลชไดรว์ (Flash Drive) หรือ แผ่นซีดี (Cd-rom) เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลเหล่านี้โดย
อาศัยเครื่องอ่านสื่อโดยเฉพาะ เช่น ซีดีรอมไดรว์ (Cd-rom Drive) พอร์ตยูเอสบี (USB Port) ฯลฯ
1.5 กระบวนการท างาน (Procedure) เป็นขั้นตอนการท างานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์จาก
คอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้จะต้องเข้าใจขั้นตอนการท างาน ลักษณะการท างานของระบบคอมพิวเตอร์ที่มี
ความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการพื้นฐาน คือ การรับข้อมูลเข้า (Input) การประมวลผลข้อมูล
(Process) การแสดงผลข้อมูล (Output) และการจัดเก็บข้อมูล (Storage)
การรับข้อมูลเข้า (Input) เป็นการน าข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านทาง
อุปกรณ์น าเข้าชนิดต่าง ๆ เช่น การพิมพ์ข้อความผ่านแป้นพิมพ์ (Keyboard) การเขียนภาพโดยใช้
ปากกาชนิดพิเศษ การสแกนข้อความหรือภาพผ่านเครื่องสแกนเนอร์ หรือการเล่นเกมจะมีก้าน
ควบคุม (Joystick) ส าหรับเคลื่อนต าแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น
การประมวลผลข้อมูล (Process) เมื่อน าข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะ
ด าเนินการกับข้อมูลตามค าสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ การประมวลผล อาจจะมีได้
หลายอย่าง เช่น การค านวณ การจัดกลุ่มเรียงล าดับข้อมูล การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล เป็นต้น
การแสดงผลข้อมูล (Output) เป็นการน าผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดง
ผ่านทางอุปกรณ์แสดงผลชนิดต่าง ๆ เช่น การแสดงผ่านทางจอภาพ (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูล
ออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น
การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดการข้อมูลอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์เพื่อให้
สามารถน าข้อมูลกลับมาใช้ได้อีกเมื่อต้องการ การจัดเก็บข้อมูลสามารถท าการบันทึกลงในอุปกรณ์