Page 8 - เอกสารประกอบการสอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
P. 8
8
การเขียนชุดค าสั่งหรือโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์ท างานตามที่ต้องการ จ าเป็นต้องมีการ
ก าหนดภาษาส าหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาประดิษฐ์
(Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว
และจ ากัด ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง
(Machine Language) ภาษาระดับต่ า (Low-Level Language) และภาษาระดับสูง (High-Level
Language)
1) ภาษาเครื่อง (Machine Language) การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์
ท างานในยุคแรกๆ เขียนด้วยภาษาที่เรียกว่าภาษาเครื่อง ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข คือ 0 กับ 1 ท าให้
เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถท างานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ต้องสามารถจ ารหัส
แทนค าสั่งต่าง ๆ ได้ และในการค านวณต้องสามารถจ าได้ว่าจ านวนต่างๆ ที่ใช้ในการค านวณนั้นถูก
เก็บไว้ที่ต าแหน่งใด นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออกไป ท า
ให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด
2) ภาษาระดับต่ า (Low-Level Language) เป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับ
ภาษาเครื่อง (Machine Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ าได้แก่ ภาษาแอสแซมบลี
(Assembly) เป็นภาษาที่ใช้ค าในภาษาอังกฤษเป็นค าสั่งให้เครื่องท างาน เช่น ADD หมายถึง บวก
SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้ค าในภาษาอังกฤษช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้
ภาษาเครื่องซึ่งเป็นตัวเลขล้วน การใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสแซมบลีนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์
ไม่สามารถท างานได้ทันที ต้องมีการแปลโปรแกรมจากภาษาแอสแซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องก่อน โดย
ใช้ตัวแปลภาษาที่มีชื่อว่า แอสแซมเบลอร์ (Assembler) ภาษาแอสแซมบลียังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียน
โปรแกรมจะต้องเข้าใจการท างานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างละเอียด ต้องรู้ว่าจ านวนที่จะน ามา
ค านวณนั้นอยู่ ณ ต าแหน่งใดในหน่วยความจ า เหมือนกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษา
แอสแซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อยและมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการท างานภายในของตัวเครื่อง
คอมพิวเตอร์
3) ภาษาระดับสูง (High-Level Language) เป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอ านวย
ความสะดวกในการเขียนโปรแกรม ลักษณะของค าสั่งจะประกอบด้วยค าต่างๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่ง
สามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงใช้ภาษาระดับสูงซึ่งง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอส
แซมบลี (Assembly) หรือภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา เช่น
ภาษาฟอร์แทรน (Fortran) ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาวิชวล
เบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่
ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ท าหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปล
ภาษาซีเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง ค าสั่งหนึ่งค าสั่งในภาษาระดับ
สูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายค าสั่ง
ตัวอย่างภาษาระดับสูง ได้แก่
ก.) ภาษาเบสิก (Beginner’s All - Purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
เป็นภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) เผยแพร่เป็น
ทางการในปี พ.ศ. 2508 ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเขียนโปรแกรม
แทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจ าสูงใน