Page 12 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 12

5) ตัวอย่างแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย

               5.1 แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี

                       บ้านเก่าเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกแห่งแรก

               ของประเทศไทย ตั งอยู่ในตําบลบ้านเก่า อําเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ดร.เอช.อาร์. แวน อีกเกอ

               เร็น (H.R. Van Heekeren) นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ซึ่งเป็นเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั งที่ 2 ได้พบ

               เครื่องมือหินกะเทาะในบริเวณริมแม่น ําแควน้อยที่บ้านเก่าระหว่าง การสร้างทางรถไฟสายมรณะ จากนั นจึงมี


               การสํารวจบริเวณนี อีกหลายครั ง จนกระทั่งใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์กได้
               ร่วมกันจัดทําโครงการสํารวจและขุดค้นอย่างเป็น ระบบขึ น ซึ่งเป็นการดําเนินการทางโบราณคดีอย่างเป็น


               ระบบครั งแรกในประเทศไทย
                       จากการขุดค้นได้พบเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และ โครงกระดูก


               มนุษย์เป็นจํานวนมาก เครื่องมือหินขัดที่พบเป็นขวานหินขัดมีลักษณะแบบฝั่งหรือ ขวานถาก สิวหินขัด
               หัวลูกศร ปลายหอก หินลับ หินบด และจักรหินหรือแผ่นหินทําเป็นรูปวงกลม เจาะรูตรงกลาง กระดูกสัตว์


               เขาสัตว์ และเปลือกหอยพบทั งที่เหลือจากการบริโภคและที่ทํา เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น หัวลูกศร
               ปลายหอก เบ็ด สิ่ว เข็ม และเครื่องประดับ



















                          แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี                                         หม้อสามขาดินเผายุคหินใหม่

                                                                                     พบที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี


                       แหล่งโบราณคดีแห่งนี พบภาชนะดินเผายุคหินใหม่เป็นจํานวนมากและมีรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น หม้อ

               ชาม กระปุก พาน และที่สําคัญจนถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของยุคหินใหม่ที่บ้านเก่า คือ หม้อสามขา ภาชนะดิน

               เผาเหล่านี นอกจากจะพบเป็นเครื่องใช้แล้ว ยังพบอยู่ในหลุมฝังศพ ซึ่งอาจ เป็นภาชนะใส่เครื่องเซ่นสําหรับ

               ผู้ตาย จากการเปรียบเทียบภาชนะดินเผาพบว่าคล้ายคลึงกับภาชนะ ดินเผาวัฒนธรรมหลงซานในประเทศจีน

               นอกจากภาชนะดินเผาแล้วยังพบเครื่องปั้นดินเผาชนิดอื่น เช่น ลูกกระสุนดินเผา แวดินเผา
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17