Page 14 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 14

6) ศิลปะถ้ําสมัยก่อนประวัติศาสตร์

                       ศิลปะถ ําสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ภาพที่คนก่อนประวัติศาสตร์ทําไว้ตามผนังถ ําและเพิ่งผา โดยใช้


               วิธีการลงสีหรือทํารูปรอยบนหิน ภาพที่ลงสี่ส่วนใหญ่เป็นภาพมือ ภาพคน ภาพสัตว์ และ ภาพลายเรขาคณิต

               บางครั งพบเป็นภาพขบวนพิธีกรรมหรือกลุ่มภาพที่แสดงกิจกรรมของมนุษย์ ในอดีต สีที่ใช้เขียนภาพส่วนใหญ่

               เป็นสีแดง รองลงมาเป็นสีขาวและสีดํา ไม่พบสีอื่น














                       ภาพเขียนสีรูปวัวที่ภูปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี                    ภาพเขียนสีรูปขบวนแห่ที่ถ้ าตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี

               .    เขียนเป็นสีทึบและแสดงภาพโครงกระดูกภายใน                   เขียนเป็นสีทึบ รูปคนเดินเป็นแถว บางคนหาบสิ่งของ


                       ภาพเหล่านี ไม่สามารถกําหนดอายุได้ แต่อาจพบหลักฐานอื่น ๆ ในถ ําที่สามารถบอกยุคสมัย และใช้

               เป็นอายุเปรียบเทียบของภาพได้ ซึ่งพบว่ามีการสร้างศิลปะถ ํามาตั งแต่ตอนปลายของ ยุคหินเก่าต่อเนื่องมา

               จนถึงยุคโลหะ ศิลปะถ ําสมัยก่อนประวัติศาสตร์สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิต สภาพแวดล้อม การแต่งกาย การล่า

               สัตว์ ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ

                       แหล่งที่พบศิลปะถ ํากระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เช่น ที่ออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ถ ําฝ่ามือ จังหวัด

               ขอนแก่น ถ ําลายและถ ําโนนสาวเอ้ จังหวัดอุดรธานี ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี ภูปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี ถ ํา

               ตาด้วงและถ ํารูปเขาเขียว จังหวัดกาญจนบุรี ถ ําผีหัวโต จังหวัดกระบี่


                  บทสรุป



                       ดินแดนไทยมีมนุษย์เข้ามาตั งถิ่นฐานจนเกิดชุมชนหมู่บ้านตั งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏ

               ร่องรอยหลักฐานที่พบตามแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในทุกภูมิภาคของ ประเทศไทย สมัยก่อน

               ประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยแบ่งออกเป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหินและ ยุคโลหะ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19