Page 18 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 18

หลวงจีนอี จิงซึ่งเดินทางโดยทางเรือจากจีนเพื่อไปศึกษาพระธรรมวินัยที่อินเดียเมื่อ พ.ศ. 1214  ได้

               บันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า ได้มาแวะพักที่ดินแดนที่เรียกว่า ซิลิโฟซิ ซึ่งศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ มีความเห็น

               ว่า คือ ศรีวิชัย นั นเอง (ซิลิ = ศรี, โฟซี = วิชัย)


                       ศรีวิชัยมีกษัตริย์ปกครอง ศูนย์กลางอํานาจของศรีวิชัยนักวิชาการในอดีตมีความเห็น แตกต่างเป็น 2

               ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าอยู่ที่เมืองไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าอยู่ที่ เมืองปาเล็มบัง ประเทศ

               อินโดนีเซีย





















               พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสําริด                     พระนารายณ์ ศิลา ศิลปะศรีวิชัย    พระพุทธรูปนาคปรกปางมารวิชัย
               ศิลปะศรีวิชัย พบที่วัดเวียง                          พบที่ศาลหลักเมือง จังหวัดสงขลา          สําริด ศิลปะศรีวิชัย พบที่วัดเวียง

               อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี                   ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน                อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
               ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ              แห่งชาติสงขลา                               ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถาน

               พระนคร                                                                                     แห่งชาติพระนคร


                       ปัจจุบันมีแนวคิดใหม่ว่า ศรีวิชัยไม่ใช่อาณาจักรแต่เป็นสมาพันธรัฐ ศรีวิชัยไม่มีศูนย์กลาง หรือราชธานี

               ที่แน่นอนและแท้จริง แต่ศูนย์กลางจะเปลี่ยนไปตามความเข้มแข็งของผู้นําแต่ละรัฐ มากกว่า และทั งเมืองไชยา

               และเมืองปาเล็มบังน่าจะเคยเป็นศูนย์กลางสําคัญมาแล้ว

                       รายได้หลักของศรีวิชัยมาจากภาษีการค้า อันเนื่องจากศรีวิชัยมีอํานาจในการควบคุมน่านน ํา ระหว่าง

               ทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และการค้าแบบพ่อค้าคนกลางระหว่างชาวตะวันตก เช่น อินเดีย เปอร์เซีย

               โรมัน และอาหรับ กับชาวตะวันออก เช่น จีน จัมปา เขมร และรวมถึงทวารวดี ในภาคกลางของประเทศไทย

                       ด้านศาสนา ในช่วงแรกชาวศรีวิชัยนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และศาสนา พราหมณ์-ฮินดู

               ต่อมานับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเป็นหลัก และเมื่อศรีวิชัยล่มสลาย ลงประชาชนได้เปลี่ยนมานับถือ

               พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทจนถึงปัจจุบัน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23