Page 22 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 22

อักษรขอมหรือ เขมรโบราณ


                                                                    ศิลปกรรมสมัยทวารวดีส่วนใหญ่คล้ายกับ

                                                            ศิลปกรรมอินเดียที่เป็นแม่แบบในช่วงเวลาเดียวกัน คือ

                                                            สมัยราชวงศ์คุปตะและหลังคุปตะ และสมัยราชวงศ์ปา

                                                            ละ สถาปัตยกรรมที่พบมากคือ สถูปเจดีย์ สร้างด้วยอิฐ

                                                            แผ่นขนาดใหญ่ เจดีย์ที่พบมักเหลือแต่ฐาน มีแผนผัง

                                                            ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนด้าน

                                                            ประติมากรรมมีการสร้างพระพุทธรูปศิลา พระพุทธรูป

                                                            ดินเผา และพระพุทธรูปสําริดเป็นจํานวนมากนอกจาก

                                                            นี ยังพบธรรมจักรและกวางหมอบสลักจากหิน ซึ่งเป็น

                                                            สัญลักษณ์แสดงถึงปฐมเทศนาด้วย



               แนวชายฝั่งทะเลเดิมสมัยทวารวดีประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16

                     เรื่องน่ารู้
                 พระพุทธรูปสมัยทวารวดีมีทั งสลักจากหิน ทําด้วยดินเผา และหล่อด้วยสําริด สมัยแรกทําตามอย่างอินเดียต่อมาจึง

                 เกิดลักษณะพื นเมืองจนเป็นแบบเฉพาะของทวารวดีเอง คือพระพักตร์แบน พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรโปน
                 พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนาแบะท่าประทับยืนตรง พระหัตถ์มักอยู่ในกิริยาแสดงธรรมทั งสองพระหัตถ์ ซึ่งเรียกว่า

                 ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ หรือเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ และพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทคล้ายนั่งเก้าอี

















               ซ้าย       พระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ สาริด ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13 พบที่วัดเชิงท่า จังหวัดนนทบุรี
               กลาง     ธรรมจักรเและกวางหมอบ ศิลา ศิลปะทวารวดี พบที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
               ขวา      หม้อน้ าดินเผา ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 12-13 พบที่พงตึก อ าเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
                       โบราณวัตถุทั้งหมดนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


                       โบราณวัตถุสมัยทวารวดีประเภทเครื่องใช้ในชีวิตประจําวัน ที่สําคัญคือ ภาชนะดินเผา พบมากที่สุดใน
               เมืองโบราณทุกแห่ง นอกจากนี มีเหรียญโบราณและเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ลูกปัด กําไล ต่างหู
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27