Page 20 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 20
ปัจจุบันแนวความคิดเรื่องอาณาจักรทวารวดีแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดใหญ่ๆ
แนวคิดที่ 1
ทวารวดีมีรูปแบบการปกครองเป็นอาณาจักร และมีเมืองในภาคกลาง หรือบริเวณลุ่มน ําเจ้าพระยาตอนล่าง
เป็นศูนย์กลางอํานาจ ซึ่งอาจอยู่ที่เมือง 3 เมือง ได้แก่ เมืองนครปฐมโบราณ (นครชัยศรี) เมืองอู่ทอง ที่
อําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และเมืองลพบุรี เพราะใน 3 เมืองนี พบเหรียญเงินที่มีจารึกว่า “ศรีทวารวดี
ศวรปณยะ” ซึ่งแปลว่า บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งทวารวดี
แนวคิดที่ 2
ทวารวดีเป็นเพียงกลุ่มเมืองที่ต่างเป็นอิสระต่อกัน เจริญเข้าสู่ยุคสมัยทวารวดีพร้อม ๆ กัน แต่ละเมืองพึ่งพา
ตัวเองได้ทั งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเมืองใหญ่ ๆ บางเมือง อาจมีเมืองเล็กที่อยู่ใกล้เคียง
เป็นเมืองบริวาร ส่วนลักษณะของศิลปกรรมที่พบคล้ายคลึงกันทุกเมือง ก็ด้วยเมืองเหล่านี ต่างสามารถ
ติดต่อกันได้โดยง่าย อีกทั งยังตั งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล ทําให้ทําการค้าสะดวก และรับวัฒนธรรมภายนอก
โดยเฉพาะอินเดียได้เท่าเทียมกัน
เหรียญเงินสมัยทวารวดี พบที่นครปฐม ด้านหนึ่งจารึกข้อความ ตราประทับดินเผารูปเรือส าเภาสมัยทวารวดี
“ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ”อีกด้านหนึ่งเป็นรูปหม้อน้ าปูรณะคฏะ พบที่เมืองนครปฐมโบราณ (นครชัยศรี)
อีกเหรียญหนึ่งเป็นรูปแม่โคก าลังให้นมลูก ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ตรานี้แสดงให้เห็นว่าชาวทวารวดีรู้จักใช้
เรือส าเภาติดต่อค้าขายทางทะเลเป็นอย่างดี
เมืองโบราณสมัยทวารวดีในภาคกลางมักตั งถิ่นฐานอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลเดิม ปรากฏ ร่องรอยเมืองโบราณ
นับจากฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยเริ่มจากจังหวัดเพชรบุรีขึ นไปทางเหนือ ได้แก่ ราชบุรี นครปฐมสุพรรณบุรี แล้วอ้อมไป
ด้านตะวันออกผ่านอ่างทอง ลพบุรี สระบุรี นครนายก และอ้อมลงมาทางใต้ผ่านจังหวัดปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และ
ชลบุรีทางฝั่งทะเลตะวันออก จากภาพถ่ายทางอากาศพบเมืองโบราณในที่ราบภาคกลางและบริเวณริมฝั่งทะเลเดิม