Page 21 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 21

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองโบราณสมัยทวารวดีบางเมือง


                       ชาวทวารวดีอาจเป็นชนชาติมอญ คือชาวมอญเป็นชนส่วนใหญ่ หรืออาจมีชนหลายเชื อชาติ อยู่

               ร่วมกัน ได้แก่ มอญ เขมร ไต (หรือสาม เชียม หรือเสียม) และชนต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย เปอร์เซีย หรือ

               อิหร่านที่เข้ามาตั งหลักแหล่งอยู่แล้วในดินแดนนี

                       เศรษฐกิจทวารวดีขึ นอยู่กับการเกษตรและการค้ากับเมืองใกล้เคียง โดยเฉพาะกับชาวต่างชาติ ผลิตผล

               ที่สําคัญ คือ ข้าว ของป่าและแร่ เมืองที่ตั งอยู่ใกล้ทางน ําที่ออกทะเลได้สะดวกจะเป็นเมืองท่าศูนย์กลางทางการ

               ค้าขาย ส่วนเมืองที่อยู่ลึกเข้าไปจะเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าเพื่อส่งมายังเมืองท่าอีกทีหนึ่ง

                       ชาวทวารวดีนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นศาสนาหลัก ดังปรากฏหลักฐาน โบราณวัตถุ

               เนื่องในพระพุทธศาสนาที่พบในภาคกลางและภาคอื่น ๆ เช่น พระพุทธรูป พระพิมพ์ ธรรมจักรกับกวางหมอบ

               จารึกคาถาในพระพุทธศาสนา ร่องรอยพระสถูปเจดีย์

                       อย่างไรก็ตาม ชาวทวารวดีส่วนหนึ่งนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานรวมทั งศาสนา พราหมณ์-

               ฮินดูด้วย เพราะพบพระโพธิสัตว์อันเป็นรูปเคารพเนื่องในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน และพบเทวรูปพระ

               นารายณ์และศิวลึงค์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูตามเมืองโบราณหลายแห่ง

                       ภาษาที่ใช้ในจารึกสมัยทวารวดีมีอยู่หลาย ภาษา คือ ภาษามอญโบราณ ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น ภาษา

               บาลี ภาษาสันสกฤตที่รับมาจากอินเดีย นอกนั นมีภาษาเขมร ภาษาทมิฬ และภาษาจีนส่วนอักษรที่ใช้จารึก

               ได้แก่ อักษรของอินเดีย คือ อักษรปัลลวะ และอักษรหลังปัลลวะ นอกจาก นั นยังใช้อักษรมอญโบราณ และ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26