Page 23 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 23
4) แคว้นละโว้ (ลพบุรี) ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-19
หลักฐานเกี่ยวกับแคว้นละโว้ ได้แก่ จารึกเขมรโบราณ เอกสารจีน สถาปัตยกรรมพวก ปราสาทหิน
ประติมากรรมรูปเคารพในศาสนา ร่องรอยชุมชนโบราณ ร่องรอยการสร้าง อ่างเก็บน ําในวัฒนธรรมเขมร
โบราณ
จารึกเขมรโบราณเป็นจารึกภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร ส่วนใหญ่จะออกพระนาม เล่าพระราช
ประวัติหรือพระกรณียกิจของกษัตริย์เขมร พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ พบในภาคอื่น ๆ ด้วย
โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีปราสาทหินแบบเขมรตั งอยู่
แคว้นละโว้หรือลพบุรีมีความหมายได้ 2 นัย คือ
1. หมายถึง กลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นที่ตั งอยู่ในบริเวณพื นที่ภาคกลางฟากตะวันออกของลุ่มน ํา
เจ้าพระยา โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้ หรือลพบุรี
2. หมายถึง บรรดาบ้านเมืองหรือแว่นแคว้นในภูมิภาคต่าง ๆ ที่แสดงแบบแผนทางวัฒนธรรม ที่ได้รับ
อิทธิพลจากอาณาจักรเขมร โดยมีศูนย์กลางทางภาคกลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรี ส่วนศูนย์กลางทางภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อกันว่าอยู่ที่เมืองพิมาย ในจังหวัดนครราชสีมา
บ้านเมืองที่รับวัฒนธรรมแบบเขมร หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัฒนธรรมลพบุรี ตามชื่อเมือง ละโว้หรือ
ลพบุรี ที่เชื่อว่าเป็นเมืองสําคัญ พบกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือพบ
ทุกจังหวัด และโดยเฉพาะในเขตอีสานตอนล่างพบหนาแน่นมาก นอกจากนั นยังพบในเขตพื นที่ภาคกลาง ภาค
ตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้
ลักษณะร่วมกันของชุมชนวัฒนธรรมลพบุรี
มีศาสนสถาน (ปราสาท) สําคัญตั งอยู่กึ่งกลางเมือง มีสระน ําหรือบารายเพื่อสนองความเชื่อทางด้าน
เพื่อเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจและการปกครอง ศาสนา และเพื่อการอุปโภคและบริโภคของประชาชน
ละโว้มีพื นที่อุดมสมบูรณ์ ทํานาได้ข้าวมาก จนส่งเป็น
สินค้า ออกได้ อาชีพสําคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การค้า ละโว้เป็น
ศูนย์กลางการค้าของภาคกลาง มีการค้ากับรัฐใกล้เคียง และค้ากับ
จีนและอินเดีย มีหลักฐาน ว่าละโว้เคยส่งเครื่องราชบรรณาการ ไป
ยังจีน จดหมายเหตุของจีนเรียกละโว้ว่า หลอหู
ด้านศาสนา เดิมชาวละไว้นับถือพระพุทธศาสนา นิกาย
เถรวาทเช่นเดียวกับชาวทวารวดี ต่อมายอมรับ คติความเชื่อทาง
ศาสนาตามแบบเขมร นั่นคือยอมรับศาสนาพราหมณ์-ฮินดูทั งลัทธิ
ลัทธิไวษณพ รวมทั งยังยอมรับพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่
ไศวะและ
ปราสาทหินพนมรุ้ง อ าเภอเฉลิมพระเกียรติ
จังหวัดบุรีรัมย์ สร้างด้วยหินทราย ศิลปะลพบุรี
พุทธศตวรรษที่ 17 สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัย
ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู