Page 28 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 28
พะเยา กล่าวถึงพระยางําเมืองว่าเป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ์เช่นเดียวกับพระร่วง เวลาเสด็จไปไหน ฝนไม่ตกแดดไม่
ร้อน และทรงปกครองประชาชนด้วยหลักทศพิธราชธรรมเช่นเดียวกัน ไม่ทรงนิยม ทําสงคราม แต่ใช้วิธีผูกมิตร
กับเจ้าเมืองต่าง ๆ ครั งหนึ่งพระยามังรายได้ยกทัพใหญ่มาหมายจะยึด พะเยา พระยางําเมืองไม่สู้รบด้วย กลับ
เชื อเชิญพระยามังรายให้เข้าเมือง และทรงแบ่งดินแดน บางส่วนให้ ทําให้พะเยาไม่ถูกล้านนายึดครองในสมัย
พระยามังราย
ต านานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงเรื่องราวความสัมพันธ์
ระหว่างกษัตริย์ 3 พระองค์ คือ พระยา งําเมือง พระยามังราย และ
พ่อขุนรามคําแหงมหาราช ว่าทรงเป็นพระสหายร่วมสาบานกัน และเล่า
ว่าเมื่อ พระยามังรายแผ่อํานาจได้กว้างใหญ่ไพศาลแล้ว จึงทรงดําริที่
จะสร้างเมืองเชียงใหม่ ก่อนที่จะสร้างเมืองได้เชิญ พระสหายของ
พระองค์คือ พ่อขุนรามคําแหงมหาราช และ พระยางําเมืองไปให้
คําปรึกษาหารือว่าจะสร้างเมืองตรงไหนดี จะวางรูปแบบผังเมืองใน
ลักษณะใด ในที่สุดกษัตริย์ทั งสาม พระองค์ก็ตกลงเห็นชอบกัน ทําให้
สามารถสร้างเมือง เชียงใหม่ได้สําเร็จเมื่อ พ.ศ. 1839
เมื่อสิ นพระยามังรายแล้ว กษัตริย์องค์ต่อมาของ อาณาจักร อนุสาวรีย์พระยาง าเมือง ประดิษฐาน
อยู่ที่สวนสาธารณะ หน้ากว้านพะเยา
ล้านนามิได้มีความผูกพันเป็นมิตรไมตรีกับพะเยา เหมือนสมัยพระยามังราย จังหวัดพะเยา
ล่วงมาถึงสมัยพระยาคําลือครอง เมืองพะเยา ก็ถูกพระยาคําฟูแห่งล้านนา
ร่วมมือกับเจ้าเมืองน่าน ยกทัพไปตีพะเยาได้ในพ.ศ. 1881 พะเยาจึงสิ นอิสรภาพและตกเป็นส่วนหนึ่งของ
ล้านนา
4)อาณาจักรล้านนา พ.ศ. 1839-2442
4.1 พระยามังรายผู้ตั้งอาณาจักรล้านนา
ผู้ตั งอาณาจักรล้านนา คือ พระยามังราย (พ.ศ. 1804-1854) ซึ่งตามตํานานพื นเมือง เชียงใหม่ กล่าว
ว่า เป็นพระราชโอรสของพระยาลาวเมงแห่งแคว้นหิรัญนครหรือเงินยางเชียงแสน พระมารดาคือ นางอั วมิ่ง
จอมเมืองหรือนางเทพคํา ซึ่งเป็นธิดาของท้าวรุ่งแก่นชาย กษัตริย์ไทยลื อ แห่งเมืองเชียงรุ่ง แคว้นสิบสองพันนา
พระยามังรายประสูติ พ.ศ. 1782 ต่อมาเมื่อพระราชบิดา สวรรคตก็ได้เสวยราชย์แทนใน พ.ศ. 1804
หลังจากขึ นครองราชย์แล้ว พระยามังรายมีพระประสงค์จะสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ จึงทรงรวบรวม
เมืองต่าง ๆ เข้าไว้ในอํานาจ และทรงสร้างเมืองใหม่ ย้ายราชธานีมายังเมือง ที่สร้างใหม่ตามลําดับดังนี
พ.ศ. 1805 สร้างเมืองเชียงราย
พ.ศ. 1816 สร้างเมืองฝาง