Page 32 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 32
ในด้านการค้า เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างเมืองที่อยู่เหนือเชียงใหม่ขึ นไปกับ เมืองทางใต้
และตะวันตก
2. กฎหมาย พระยามังรายทรงบัญญัติกฎหมายที่เรียกว่า มังรายศาสตร์ ขึ นใช้ และได้ใช้กัน ต่อมา
ตลอดสมัยราชวงศ์มังราย กฎหมายนี มีเนื อหาสาระหลายเรื่อง เช่น โทษของการหนีศึก การให้ไพร่เข้าเวร การ
สร้างไร่นา การกู้เงิน การรับมรดก ลักษณะความผิดและการลงโทษ การทะเลาะวิวาท การลักพา
3. ศาสนา เดิมชาวล้านนานับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทตามแบบหริภุญชัย ต่อมา รับ
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ผ่านมาทางสุโขทัย และตอนหลังได้ส่งพระสงฆ์ หลายรูปเดินทาง
ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกาโดยตรง กษัตริย์และประชาชนชาวล้านนา มีความเชื่อและศรัทธาใน
พระพุทธศาสนามากโดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการศึกษา พระพุทธศาสนา ได้จัดให้มีการ
สังคายนาพระไตรปิฎกขึ นที่วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2020 สมัยพระเจ้าติโลกราช
นับเป็นการสังคายนาครั งที่ 8 ของโลก และ ครั งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. ศิลปกรรม ศิลปกรรมระยะแรกของล้านนามีพื นฐานจากศิลปะหริภุญชัยผสมผสานกับ อิทธิพล
ศิลปะพม่าหรือพุกาม และเมื่อรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์จากสุโขทัยมาในต้นพุทธ ศตวรรษที่ 20 ก็รับ
อิทธิพลศิลปะสุโขทัยเข้ามาด้วย
1) พระพุทธรูป พระพุทธรูปล้านนารุ่นแรกสร้างก่อน ตั งเชียงใหม่ พบที่
เมืองเชียงแสน มีลักษณะเด่น คือ พระวรกาย อวบอ้วน พระพักตร์ค่อนข้าง
แป้น แสดงอิทธิพลศิลปะแบบพุกาม พระพุทธรูปล้านนารุ่นหลังสร้างหลังจาก
ตั งเชียงใหม่แล้วรับลักษณะพระพุทธรูปแบบสุโขทัยเข้ามาผสมพระวรกาย
ลดความ อวบอ้วนลงพระพักตร์รูปไข่
พระพุทธรูป ศิลปะล้านนา
2) เจดีย์ ที่เป็นสถาปัตยกรรม ล้านนามี 3 แบบ คือ
(1) แบบทรงปราสาทยอด เช่น เจดีย์หลวงที่ วัด
เจดีย์หลวงโชติการาม จังหวัดเชียงใหม่ แสดงอิทธิพล
ศิลปะหริภุญชัย และอาจได้รับอิทธิพลศิลปะพุกามด้วย
เจดีย์หลวง วัดเจดีย์หลวงโชติการาม อ าเภอเมืองเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21-22