Page 34 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 34

6.  วรรณกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา และพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้แต่ง เรื่องที่สําคัญ

               ได้แก่ ชินกาลมาลีปกรณ์ จามเทวีวงศ์ สิหิงคนิทาน และต านานมูลศาสนา


               4.4 ล้านนาหลังสิ้นราชวงศ์มังราย


                       ตอนปลายสมัยราชวงศ์มังราย ล้านนาอ่อนแอลงมาก เนื่องมาจากสถาบันกษัตริย์ตกอยู่ใต้ อิทธิพล
               ของขุนนาง และมีการรุกรานจากภายนอก ทั งจากอยุธยา ไทยใหญ่ และพม่า ในที่สุด ก็ถูกกองทัพของพระเจ้า


               บุเรงนองแห่งพม่าเข้ายึดครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ใน พ.ศ. 2101 ในช่วงเวลาที่พม่าปกครองบางครั งกองทัพ

               จากอยุธยาได้ยกไปโจมตีเชียงใหม่ได้สําเร็จ เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมัยสมเด็จพระ

               นารายณ์มหาราช ในบางช่วงไทยกับพม่า เกิดปัญหาภายในประเทศ อาณาจักรล้านนาได้ตั งตนเป็นอิสระ เช่น

               ระหว่าง พ.ศ. 2270-2306 หากในช่วงใดพม่ากลับมาเข้มแข็งใหม่พม่าจะยกทัพไปยึดอาณาจักรล้านนาอีก

                       ถึงสมัยธนบุรี ผู้นําล้านนา ได้แก่ เจ้ากาวิละและพญาจ่าบ้าน (บุญมา) ต้องการเป็นอิสระ จากพม่า จึง

               มาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขอกําลังสนับสนุนไปตีเชียงใหม่ สามารถ ยึดเมืองเชียงใหม่จาก

               พม่าได้เมื่อ พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้เจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองลําปาง และให้

               พญาจ่าบ้านเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่

                       ตอนปลายสมัยธนบุรีเมืองเชียงใหม่ถูกทิ งร้าง ถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้

               เจ้ากาวิละไปเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทนพญาจ่าบ้านที่เสียชีวิตไปแล้ว ต่อมาใน พ.ศ. 2547 กองทัพล้านนา

               ร่วมกับกองทัพจากกรุงเทพฯ ช่วยกัน ขับไล่กองทัพพม่าที่กลับเข้ามาครอบครองเชียงแสนได้สําเร็จ เป็นการ

               กําจัดอิทธิพลของพม่าออกไป จากล้านนาได้โดยสิ นเชิง ล้านนาเป็นประเทศราชของไทยเรื่อยมา จนกระทั่งถูก

               รวมเข้าเป็น ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยใน พ.ศ. 2442 สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


               5) อาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. 1792-2006

                       จารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงกษัตริย์ของสุโขทัยในระยะแรก ๆ ของการ

               ก่อตั งไว้ดังนี

                       “ปู่ชื่อพระยาศรีนาวนําถุมเป็นขุน เป็นพ่อ เสวยราชย์ในนครสองอัน อันหนึ่งชื่อนครสุโขทัย อันหนึ่ง

               ชื่อนครศรีสัชนาลัย...”


                       แสดงให้เห็นว่า สุโขทัยกับศรีสัชนาลัยเป็นเมืองที่คู่เคียงกัน และมีความสําคัญเท่าเทียมกัน จึงมักจะ
               เรียกชื่อ 2 เมืองนี คู่กันมา


                       สันนิษฐานว่า พ่อขุนศรีนาวนําถุมน่าจะครองราชย์เมื่อประมาณ พ.ศ. 1761-1781 ในสมัยนี  ปรากฏ
               เรื่องราวเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของเขมรสอดคล้องกับจารึกของเขมรอยู่มาก และอยู่ใน ช่วงระยะที่ชนชาติไทย
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39