Page 13 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 13

โครงกระดูกมนุษย์ที่พบส่วนใหญ่มักถูกฝังนอนหงายเหยียดยาว ตกแต่งศพด้วยเครื่อง ประดับ เช่น

               ลูกปัด กําไล มีความเชื่อในการกรอหรือถอนฟันของผู้ตายก่อนจะฝัง นอกจากนี ยังมี การฝังเครื่องเช่นเป็น

               เครื่องมือเครื่องใช้ และอาจมีการฝังอาหารสําหรับผู้ตายด้วย

                       ยุคหินใหม่ที่บ้านเก่านี มีอายุประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง มาจนเข้าสู่ยุค

               โลหะ ข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับยุคหินใหม่ที่บ้านเก่า ปัจจุบันจัดแสดงไว้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้าน

               เก่า ซึ่งสร้างขึ นในบริเวณที่มีการดําเนินงานขุดค้น

               5.2 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

                       บ้านเชียงเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคโลหะ ตั งอยู่ในเขตตําบล บ้านเชียง อําเภอ

               หนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เนื่องจาก การพบเครื่องปั้นดินเผาเป็น

               ภาชนะลายเขียนสีแดงบนพื นสีขาวนวล ลวดลายที่เขียนมีความ งดงามมาก อายุของสําริดและเหล็กที่พบที่

               บ้านเชียงก็จัดได้ว่ามีความเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก จนในที่สุดองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม

               แห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ประกาศยกย่องให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

                       มีการสํารวจแหล่งโบราณคดีแห่งนี หลายครั ง รวมทั งมีการลักลอบขุดหาภาชนะดินเผาเหล่านี  เพื่อ

               นําไปขายจนแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงถูกทําลายไปเป็นอันมาก จนกระทั่ง พ.ศ. 2510 จึงมี การดําเนินงาน

               วิจัยและขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากรและนักโบราณคดีจากต่างประเทศ หลายครั ง และพบว่ามี

               หลักฐานทางโบราณคดีแบบเดียวกับที่บ้านเชียงกระจายอยู่ทั่วไปในเขต จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดสกลนคร

                       จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ แสดงว่ามนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงอยู่รวมกัน เป็นหมู่บ้าน

               ดํารงชีวิตด้วยการเกษตร คือ ปลูกข้าว และเลี ยงสัตว์ ได้แก่ วัว หมู และสุนัข นอกจากนี ยังมีการล่าสัตว์ เช่น

               เก้ง กวาง หมูป่า กระต่าย ชะมด พังพอน งู แย้ และจับสัตว์น ํา เช่น ปลาชนิดต่าง ๆ เต่า ตะพาบ หอย กบ

               เครื่องมือเครื่องใช้ระยะแรกเป็นขวานหินขัด ต่อมา จึงเริ่มมีการทําเครื่องประดับและเครื่องมือสําริดขึ นใช้ เช่น

               กําไล ตุ้มหู หัวขวาน ใบหอก และ ในที่สุดจึงพัฒนามาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทําจากเหล็ก

                       วัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเชียงแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ระยะ คือ


                 บ้านเชียงยุคต้น มีอายุระหว่าง   บ้านเชียงยุคกลาง มีอายุระหว่าง   บ้านเชียงยุคปลาย มีอายุระหว่าง

                    4,000-3,000ปีมาแล้ว            3,000-2,000ปีมาแล้ว             2,300-1,800ปีมาแล้ว











                  ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ                ภาชนะดินเผา               ภาชนะดินเผาลายเขียนสี
                    มีเส้นดินปั้นแปะประดับ       วัฒนธรรมบ้านเชียงยุคกลาง       วัฒนธรรมบ้านเชียงยุคปลาย
                   วัฒนธรรมบ้านเชียงยุคต้น
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18