Page 9 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 9
ตัวอย่างแหล่งโบราณคดีในยุคหินใหม่ที่สําคัญ ได้แก่
ภาคเหนือ
- ถ ําดอยผาชี อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง
ภาคกลาง
- โคกเจริญ ในเขตลุ่มแม่น ําป่าสัก อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
- บ้านท่าแค อําเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
- บ้านเก่า ในเขตลุ่มแม่น ําแควน้อย อําเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
- ถ ําพระ อําเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- โคกพนมดี ในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
- บึงไผ่ดํา ในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อําเภอบางน ําเปรี ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- โนนนกทา อําเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
- โนนเก่าน้อย บริเวณด้านตะวันออกของหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
ภาคใต้
- ถ ําสิงขร อําเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
4) ยุคโลหะในดินแดนไทย
หลังจากที่มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือที่ทําจากหิน กระดูก เปลือกหอย และไม้มาเป็นระยะเวลานาน
มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ไปอีกระดับ คือ การรู้จักถลุงเอาทองแดงมาใช้ประโยชน์ ต่อมาจึงได้นําเอา
ทองแดงมาผสมกับโลหะอื่นเป็นสําริด และในที่สุดจึงได้พัฒนามาสู่การถลุงเหล็ก ซึ่งช่วงเวลานี เรียกกันว่า
ยุคโลหะ
ยุคโลหะในดินแดนไทยเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว สามารถแบ่งย่อยตามชนิดของโลหะ ที่ใช้ทํา
เครื่องมือเครื่องใช้ได้เป็น 2 ยุค คือ ยุคสําริดและยุคเหล็ก
4.1 ยุคสําริด 4,000-2,500 ปีมาแล้ว
ยุคนี เริ่มต้นในดินแดนไทยเมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ตั งแต่มนุษย์รู้จักการทําสําริด แล้วเอามาทํา
เครื่องมือเครื่องใช้ และสิ นสุดลงเมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เมื่อมนุษย์รู้จักถลุง เหล็กมาใช้ทําเครื่องมือ
เครื่องใช้ ซึ่งในแต่ละพื นที่อาจมีจุดเริ่มต้นและสิ นสุดแตกต่างกัน เนื่องจาก การพัฒนาเทคโนโลยีด้านโลหะไม่
เท่าเทียมกัน
สําริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทําสําริดค่อนข้างยุ่งยากตั งแต่ การหาแหล่ง
แร่ การเตรียมและแต่งแร่ การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั นจึงเป็น การขึ นรูปทําเครื่องมือ