Page 6 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 6
ตัวอย่างแหล่งโบราณคดีในยุคหินเก่าในประเทศไทย เช่น
ภาคเหนือ
- เขาป่าหนาม จังหวัดลําปาง
- บ้านแม่ทะและบ้านดอนมูล จังหวัดลําปาง
- อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง
- สบคํา อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ถ ําวิมานนาคินทร์ อําเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
ภาคใต้
- ถ ําหลังโรงเรียนและถ ําหมอเขียว อําเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
3.2 ยุคหินกลาง 10,000-6,000 ปีมาแล้ว
การค้นพบหลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินในช่วงเวลาต่อมาเป็นเครื่องมือ หิน
กะเทาะที่ทําประณีตขึ นและมีขนาดเล็กลง เครื่องมือแบบนี เรียกว่า เครื่องมือแบบฮัวบิเนียน (Hoobinhion)
ตามแหล่งโบราณคดีที่พบเครื่องมือแบบนี ครั งแรก คือ จังหวัดฮัวบินห์ ประเทศ เวียดนาม ชนิดของเครื่องมือ
จะมีหลายรูปแบบและใช้งานเฉพาะด้านมากกว่ายุคก่อน เช่น เครื่องมือปลายแหลม เครื่องมือขุด เครื่องมือทํา
จากสะเก็ดหิน รวมทั งมีการนําเปลือกหอยและ กระดูกสัตว์มาทําเป็นเครื่องมือสําหรับเจาะและขูด
นอกจากนี ยังพบกระดูกสัตว์ทั งสัตว์บกและสัตว์น ํา เช่น เก้ง กวาง หมู กระทิง ควายป่า เสือ หมี ลิง
ค่าง กระจง กระรอก หนู จระเข้ เต่า หอย ปู ปลาชนิดต่าง ๆ ซากพืช เช่น ไผ่ ถั่ว สมอ และพบโครงกระดูก
ของมนุษย์ถูกฝังนอนงอเข่า มีแผ่นหินวางทับร่าง มีดินแดง โรยอยู่บนร่าง และมีการฝังเครื่องเช่นรวมกับศพ
ในช่วงยุคหินกลางนี เป็นช่วงสิ นสุดสมัยน ําแข็ง ทําให้ระดับน ําทะเลค่อย ๆ สูงขึ นเกิดหมู่เกาะ ต่าง ๆ
มนุษย์ในยุคนี ตั งถิ่นฐานอยู่ในถ ํา เพิงผา และสร้างกระท่อมอยู่ใกล้แหล่งน ํา ดํารงชีวิตด้วย การล่าสัตว์ จับสัตว์
น ํา เก็บพืชผัก เมล็ดพืช และผลไม้ป่าเป็นอาหาร การอพยพขึ นอยู่กับปริมาณ อาหาร การรวมกลุ่มสังคมมีมาก
ขึ น มีพิธีฝังศพ แสดงให้เห็นความเชื่อในชีวิตหลังความตาย
เครื่องมือแบบฮัวบิเนียน ยุคหินกลาง