Page 45 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 45
1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น พ.ศ. 1792-1841 ในสมัยสุโขทัยตอนต้น พระมหากษัตริย์
ปกครองใกล้ชิดประชาชน เรียกการปกครองแบบนี ว่า การปกครองแบบ พ่อปกครองลูก ซึ่งมีลักษณะสําคัญ
ดังนี
1) เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้ใช้อํานาจอธิปไตย
2) พระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกัน เมื่อประชาชนมีปัญหาเดือดร้อน ก็สามารถไป
สันกระดิ่งเพื่อเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ได้โดยง่าย
3) พระมหากษัตริย์ทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง และ ทรงชักชวน
ให้ประชาชนปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย พ.ศ. 1841-2006 หลังจากพ่อขุนรามคําแหง มหาราช
สวรรคตใน พ.ศ. 1841 แล้ว อาณาจักรสุโขทัยก็เกิดความแตกแยก พระมหากษัตริย์ องค์ต่อมา คือ พระยาเลอ
ไทยและพระยาวนําถม ไม่อาจรักษาความมั่นคงของอาณาจักร ไว้ได้ เมืองหลายเมืองแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ นต่อ
กรุงสุโขทัย
เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ขึ นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงตระหนักถึง ความไม่มั่นคง
ภายใน ประกอบกับเวลานั นอาณาจักรอยุธยาที่ตั งขึ นใหม่ก็กําลังแผ่ขยายอํานาจมา ถึงอาณาจักรสุโขทัย พระ
มหาธรรมราชาที่ 1 คงจะทรงเห็นว่า การแก้ปัญหาการเมืองด้วยการ ใช้อํานาจทางทหารอย่างเดียวอาจไม่
ได้ผล จึงทรงดําเนินพระราชกุศโลบายโดยทรงทํานุบํารุงส่งเสริม พระพุทธศาสนา ทรงเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเป็น
ตัวอย่างแก่พสกนิกร และได้ทรงสร้างถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนาไว้ทั่วไป เพื่อเป็นที่เคารพบูชาของเหล่า
ราษฎรให้เกิดเลื่อมใสศรัทธา และยึด หลักคําสอนในพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดําเนินชีวิต สร้างความ
สามัคคีกลมเกลียวและ ความมั่นคงขึ นในแผ่นดิน
การปกครองที่ยึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนานี เรียกว่า การปกครองแบบธรรมราชา ซึ่ง
พระมหากษัตริย์แบบธรรมราชาทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม
ความจริงแนวความคิดเรื่องธรรมราชานี มีแทรกอยู่ทั่วไปในนโยบายการปกครองอาณาจักร ต่าง ๆ ที่
นับถือพระพุทธศาสนา รวมทั งอาณาจักรสุโขทัยก่อนสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ด้วย แต่นับได้ว่าพระมหา
ธรรมราชาที่ 1 ทรงเป็นผู้นําแนวความคิดเรื่องธรรมราชามาปฏิบัติให้เป็นระบบ อย่างจริงจัง และถือว่า
พระองค์ทรงเป็นต้นแบบของพระมหากษัตริย์ตามคติธรรมราชา
พระมหากษัตริย์ของสุโขทัยองค์ต่อ ๆ มาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชา และปกครอง ราษฎรใน
แบบธรรมราชาเหมือนกันทุกพระองค์ จนถึงพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)