Page 46 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 46

2.2 การปกครองราชธานีและเมืองลูกหลวง

                       1. ราชธานีหรือเมืองหลวง เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ มีพระราชวังและวัดจํานวน มากตั งอยู่

               ในและนอกกําแพงเมือง ราชธานีเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การศาสนา ศิลป วัฒนธรรม และ

               ขนบประเพณีทั งปวง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองเอง

                       ราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรสุโขทัย ได้แก่ กรุงสุโขทัย ต่อมาเมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงย้าย

               มาประทับที่เมืองพิษณุโลกตั งแต่ พ.ศ. 1905 ถึง พ.ศ. 1911 จึงถือว่าเมืองพิษณโลก เป็นราชธานีแห่งที่ 2 ของ

               อาณาจักรสุโขทัยเรื่อยมาจนกระทั่งสิ นสุดอาณาจักรสุโขทัย

                       2. เมืองลูกหลวงและเมืองหน้าด่าน ตั งอยู่ใกล้ราชธานี เข้าใจว่าเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมือง ที่

               พระมหากษัตริย์ส่งเจ้านายไปปกครอง ได้แก่ เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสระหลวงสองแคว(พิษณุโลก) เมืองหน้า

               ด่านซึ่งเป็นเมืองที่คอยป้องกันข้าศึกเข้ามาตีราชธานี และมีเจ้านายปกครอง เช่นเดียวกัน เช่น เมืองนครชุม

               (อยู่ในจังหวัดกําแพงเพชร)


               2.3 กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

                       สังคมสุโขทัยเป็นสังคมที่มีระเบียบแบบแผน ส่วนใหญ่ได้รับมาพร้อมกับพระพุทธศาสนา และมีลัทธิ

               ความเชื่อตามแบบศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเข้ามาด้วย นอกจากพิธีกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังมีศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ

               เช่น ธรรมศาสตร์ จึงมีกฎหมายและกระบวนการพิจารณาคดีที่จําเป็น แก่กาลสมัยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ใน


               จารึก ดังนี
                       1. กฎหมาย


                              1) กฎหมายว่าด้วยมรดก ในจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหง ด้านที่ 1 ระบุว่า เมื่อ
               ผู้ใดถึงแก่กรรม ทรัพย์สินย่อมตกแต่ลูกของผู้นั น


                              2) กฎหมายลักษณะโจร เป็นกฎหมายของอาณาจักรอยุธยา นํามาบังคับใช้ในสุโขทัย ในสมัย
               พระมหาธรรมราชาที่ 2 กฎหมายนี บัญญัติเกี่ยวกับการลักพา การลักทรัพย์ และการ ฆ่าวัวควาย ปรากฏใน


               จารึกหลักที่ 38 ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร มีทั งหมด 8 มาตรา ขอยกตัวอย่างมาตรา 7 ซึ่งกําหนดว่า
               ประชาชนต้องช่วยจับคนร้ายด้วย ถ้าจับได้ก็จะได้รางวัล แต่ผู้ใดวางเฉย หรือจับคนร้ายได้แล้วปล่อยไป หรือไม่


               ช่วยจับกุม ให้ปรับไหมตามโทษ และของ ที่เสียหายเพราะคนร้ายชิงเท่าไร ให้ผู้นั นใช้ทั งสิ น
                       2. กระบวนการพิจารณาคดี


                              1) การพิจารณาคดีของตุลาการ ให้มี ตุลาการพิจารณาความโดยสอบสวนดูให้ได้ ความจริง

               แน่แท้แล้วจึงตัดสินด้วยความซื่อสัตย์ และเที่ยงธรรม ไม่เข้ากับผู้กระทําความผิด และไม่เห็นแก่สินบน

                              ในเรื่องไตรภูมิพระร่วงหรือไตรภูมิกถา มีข้อความเตือนผู้พิจารณาตัดสินคดีว่า หาก กินสินบน

               และไม่ตัดสินให้ถูกต้องตามทํานอง คลองธรรมแล้ว เมื่อตายไปจะต้องไปเกิดเป็น เปรตยากไร้ ต้องกินเนื อหนัง
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51