Page 51 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 51

พระมหาธรรมราชาที่ 2 และเป็น พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ครองเมืองพิษณุโลกต่อมา

               จนสิ นพระชนม์ ใน พ.ศ. 2006 จากนั นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลก เป็นอันว่า

               อาณาจักรสุโขทัยได้รวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยาโดยสมบูรณ์


               3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับรัฐที่ห่างไกลออกไป

                       1. ลังกา เป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ตั งอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย ในพุทธศตวรรษ ที่ 17 มีการทํา

               สังคายนาพระไตรปิฎกในลังกา ทําให้พระพุทธศาสนาในลังกาเจริญรุ่งเรือง เกิดเป็น พระพุทธศาสนานิกายเถร

               วาทแบบลังกาวงศ์ขึ น มีพระสงฆ์สุโขทัยไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา นอกจากนี สุโขทัยยังรับแนวความเชื่อทาง

               ศาสนาบางประการของลังกาเข้ามาอีก เช่น ความเชื่อ เกี่ยวกับปาฏิหาริย์ของพระธาตุ การประดิษฐานรอย

               พระพุทธบาท การปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ

                       2. จีน ในสมัยพ่อขุนรามคําแหงมหาราช ทางจีนมีพระเจ้าหงวนสโจ้วฮ่องเต้ หรือกุบไลข่าน แห่ง

               ราชวงศ์หยวนหรือมองโกลเป็นกษัตริย์ (พ.ศ. 1803-1837) จีนได้ขยายอํานาจลงมาทางใต้ ที่ได้รัฐที่อยู่ใกล้กับ

               สุโขทัย เช่น พม่า เวียดนาม พร้อมกันนั นก็ส่งทตมายังรัฐต่าง ๆ ให้ยอมเป็น รัฐบรรณาการอยู่ภายใต้การ

               ปกครองของจีน เนื่องจากจีนถือว่าตนเป็นมหาอํานาจ มีวัฒนธรรมสูงส่ง ดินแดนอื่น ๆ ล้วนแต่ด้อยกว่าจีน

               เมื่อจะเข้ามาติดต่อกับจีนจะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ มาถวายจักรพรรดิจีนตามกําหนด แต่เนื่องจากรัฐที่

               ติดต่อกับจีนในลักษณะเช่นนี จะได้รับ ผลประโยชน์ทางการค้าจากจีนมากมาย รัฐต่าง ๆ จึงยอมเป็นรัฐ


               บรรณาการของจีน
                       ใน พ.ศ. 1835 พ่อขุนรามคําแหงมหาราชทรงส่งคณะทตถือพระราชสาส์นไปติดต่อกับจีน เป็นครั ง


               แรก ในปีต่อมาทูตจีนได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของจักรพรรดิจีนมายังสุโขทัย มีใจความว่า ขอให้สุโขทัย
               ส่งพระราชโอรสหรือขุนนางชั นผู้ใหญ่ไปเฝ้าจักรพรรดิจีนเพื่อจะได้ คุ้นเคยกัน สุโขทัยจึงส่งทูตไปยังราชสํานัก


               จีนอีกใน พ.ศ. 1841 เพื่อติดต่อกับจักรพรรดิองค์ใหม่ หลังจากนั นก็มีการติดต่อทางการทูตและการค้ากัน
               เรื่อยมาจนสุโขทัยตกเป็นของอยุธยา


                       ความสัมพันธ์กับจีนทําให้สุโขทัยได้รับผลประโยชน์ที่สําคัญ คือ ได้ทําการค้าขายกับจีน โดยอาศัยคณะ
               ทูตเป็นเครื่องนําทาง ทําให้สินค้าจากสุโขทัยได้รับการยกเว้นภาษี และสามารถ ซื อสินค้าต้องห้ามบางอย่างจาก


               จีนตามที่มีพระราชสาส์นขอไปได้ด้วย นอกจากนี คนไทยยังได้เรียนรู้ วิธีการทําเครื่องสังคโลกจากจีน จนนํามา
               ผลิตเป็นสินค้าส่งออกได้



               4) เศรษฐกิจสมัยสุโขทัย


                       พื นฐานทางเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ที่การเกษตร เช่นเดียวกับรัฐอื่น ๆ ของคนไทย

               นอกจากนี ยังมีการทําการค้าและทําเครื่องสังคโลก
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56