Page 52 - ชุดการสอนประวัติศาสตร์ม.1
P. 52

4.1 การเกษตร

                       จากข้อมูลที่ปรากฏในศิลาจารึกทําให้ทราบว่าในสมัยสุโขทัยมีการทํานา ทําไร่ ทําสวน บริเวณ ที่ใช้

               เป็นพื นที่เพาะปลูก คือ ที่ราบลุ่มแม่น ําทั ง 3 สาย ได้แก่ แม่น ําปิง แม่น ํายม และแม่น ําน่าน แต่แม่น ําเหล่านี มี

               น ําน้อยในหน้าแล้ง พอถึงหน้าน ําก็จะมีน ําจากทางเหนือไหลบ่าเข้าท่วมพื นที่เป็น บริเวณกว้างและท่วมอยู่นาน

               จึงทําให้พื นที่ที่เพาะปลูกได้ผลดีจริง ๆ มีอยู่จํากัด และผลผลิตที่ได้ น่าจะมีพอเลี ยงพลเมืองเท่านั น คงไม่เหลือ

               มากนัก

                       สุโขทัยได้นําระบบชลประทานมาช่วยในการเกษตรและการสาธารณูปโภค เช่น มีการขุดบ่อ หรือสระ

               เพื่อเก็บน ําไว้ใช้ในหน้าแล้ง มีการสร้างฝาย หรือเขื่อน หรือทํานบกันน ํา สร้างเหมือง และขุดคลองเพื่อควบคุม

               น ําที่ไหลบ่าลงมาในหน้าน ําให้ไหลไปตามแนวทางที่ทําไว้ และส่งนําไปใช้ ในการทําการเกษตร

                       นอกจากนี ยังมีการมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ราษฎรที่หันมาทําอาชีพเกษตรกรรม โดย ทางราชการ

               กําหนดว่า เมื่อราษฎรหักร้างถางพง เพาะปลูกทํามาหากินในที่ดินใด ให้ที่ดินนั น ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้

               บุกเบิก เป็นการส่งเสริมการเกษตรอีกทางหนึ่ง พืชที่ปลูกกันมากในสมัยสุโขทัย คือ ข้าว รองลงมาเป็นไม้ผล

               เช่น มะพร้าว มะม่วง มะขาม ขนุน หมาก พลู นอกจากการเพาะปลูกแล้ว ยังมีการส่งเสริมการเลี ยงสัตว์ไว้ใช้

               งาน เป็นอาหาร และนํามาแลกเปลี่ยนค้าขายกันโดยเสรีอีกด้วย

                       4.2 การค้า

                       การค้าสมัยสุโขทัยเป็นการค้าแบบเสรี ได้รับการส่งเสริมจากทางราชการมาก มีการยกเว้น จกอบหรือ

               ภาษีผ่านด่าน ใครจะค้าขายสิ่งใดก็สามารถนํามาแลกเปลี่ยนซื อขายกันได้ ทําให้การค้า ขยายตัว

                       สภาพการค้าสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคําแหงมหาราช บันทึกไว้ในจารึก หลักที่ 1 ว่า


                  “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า


                  ใครจักใคร่ค้าเงื่อน (เงิน) ค้าทอง ค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส...”















                          ภาพนูนต่ าตั้งอยู่บริเวณด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามค าแหงมหาราช จังหวัดสุโขทัย
                                    แสดงถึงการค้าอย่างเสรีในสมัยสุโขทัย ตามข้อความในจารึกหลักที่ 1
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57